วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สถานการณ์เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

 สถานการณ์เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

 การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น ปัจจุบันเป็นปัญหาสำคัญหาหนึ่ง เนื่อง จากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประเพณี วัฒนธรรมทางสังคม รวมทั้งความ เชื่อทางเพศที่ผิดๆ ดังนั้นการเรียนรู้ และเข้าใจผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ ต่อพฤติกรรมทางเพศจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการสร้างความตระหนักในตนเอง ตลอดจนการใช้วิจารณญาณในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ด้วยตนเองอย่างมี ประสิทธิภาพ 

 

 ๑.  ความหมายของการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

              การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์  หมายถึง  สถานการณ์ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้มีการวางแผนการณ์จะให้เกิดขึ้น การไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิดการถูกข่มขืนจน ตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ก่อนการสมรส ตลอดจนความไม่พร้อมในด้านภาวะต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ การไม่รับผิดชอบของบิดาของเด็กในครรภ์ เป็นต้น   


๒.  พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

              พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ในช่วงชีวิตของวัยรุ่น อันก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
๒.๑  การเปิดโอกาสแก่ตนเองและผู้อื่น
              การเปิดโอกาสต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศมีหลายประการ เช่น การเที่ยวกลางคืนในสถานเริงรมย์ต่างๆ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และรับอาหารจากคนแปลกหน้า การเดินทางตามที่เปลี่ยว มืด สถานที่ไม่ปลอดภัย การไว้วางใจเพื่อน คนรัก หรือบุคคลแปลกหน้ามากเกินไปโดยไม่ไตร่ตรอง กระตุ้นอารมณ์ทางเพศตามสื่อต่างๆ ตลอดจนความก้าวหน้าทางวิทยาศตร์และเทคโนโลยี การใข้ยาและสารเสพติด เป็นต้น
๒.๒ การเปิดเผยอารมณ์ทางเพศ
             การเปิดเผยอารมณ์ทางพศ หมายถึง พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่ก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศแก่ผู้พบเห็น เช่น การเปิดเผยสัดส่วนร่างกายด้วยการสวมเสื้อผ้ารัดรูป โชว์สัดส่วนจนเป็นที่สะดุดตาและยั่วยุให้เกิดอารมณ์ทางเพศ หรือการแสดงพฤติกรรมที่ยั่งยวนด้วยกิริยาวาจาที่แสดงความพึงพอใจ สนใจ เรียกร้อง เชื้อเชิญต่อเพศตรงข้าม ตลอดจนการใข้ยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ เพื่อแสดงให้ผู้อื่นเห็นความสามารถทางเพศของตน 
๒.๓ ความเชื่อทางเพศที่ผิด
            ความเชื่อทางเพศที่ผิด มีผลต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ครั้งเดียวไม่อาจตั้งครรภ์ได้ การคุมกำเนิดไม่ควรใช้กับคนรัก ความสามารถใน้รื่องเพศเป็นตัววัดความเป็นลูกผู้ชาย การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานเป็นเรื่องธรรมดา ผู้หญิงและผู้ชายมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องเพศ ผู้ชายไม่มีความจำเป็นต้องรับผิดชอบภายหลังมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์หลายคู่หลายคน ถือว่าเป็นผู้มีความสามารถ เป็นต้น 
๒.๔ สถาบันครอบครัว
           ครอบครัวเป็นสังคมแรกที่ปลูกฝังความรัก ความเข้าใจ คุณธรรม จริยธรรมอก่บุคคลในครอบครัว การขาดการอบรมเลี้ยงดูที่ดี ความแตกแยกในครอบครัว การขาดความรัก การดูแลเอาใจใส่ซึงกันและกัน ทำให้วัยรุ่นมักมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อครอบครัว และมักจะปลีกตนเอง หรือไปคบเพื่อนซึ่งอาจชักชวนกันไปในทางที่ผิดๆ ได้ 


๓.ปัญหาและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

          การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ก่อให้เกิดปัญหา และผลกระทบทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะหญิงหรือชายหรือเกิดขึ้นเฉพาะฝ่ายเดียว กรณีเมื่อฝ่ายหญิงถูกข่มขืน หรือฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวมีผล ดังนี้
๓.๑ ปัญหาทางด้านร่างกาย
          ผู้ที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ส่วนใหญ่พบว่ามีอายุยังน้อย ซึ่งมีสภาพร่างกายที่เจริญเติบโตยังไม่เต็มที่ หรือไม่พร้อมกับสภาพของการตั้งครรภ์ จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน และอัตราเสี่ยงต่อการตาย และการเจ็บป่วย เช่น การที่กระดูกเชิงกรานเล็กเกินไปไม่สามารถคลอดโดยวิธีธรรมชาติได้ การขาดความรู้ และความพร้อมต่อการเตรียมตัวเป็นมารดา เป็นต้น ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย เติบโตช้า พัฒนาการทางสมองหยุดชะงัก การคอลดก่อนกำหนอ เป็นต้น
๓.๒ ปัญหาทางด้านจิต
          การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิงส่วนใหญ่ เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่มีการวางแผนมาก่อน ทั้งนี้อาจเกิดจากความรักสนุก ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความประมาท หรือการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้สร้างความวิตกกังวล ความเครียด ความอับอาย เสียใจ เศร้าใจ กลัวการถูกประณาม การไม่ยอมรับจากครอบครัว สังคม และฝ่ายชาย ซึ่งมีผลต่อภาวะการตั้งครรภ์ในฝ่ายหยิง ตลอดจนความต้องการที่จะทำแท้งด้วยวิธีการต่างๆ นอกจากเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแล้ว อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น การตกเลือดหรือเสียชีวตได้ ส่วนวัยรุ่นชายเช่นกัน มักเกิดความเครียด ความวิตกกังวล ความกลัวว่าผู้อื่นจะทราบเรื่องต่อการทำความผิดของตนจากยาติ เพื่อนฝูง หรือยาติฝ่ายหยิง ถ้าทราบเรื่งแล้วจะเอาผิดตามกฎหมายได้ กลัวภาระการผูกมัดระหว่างกัน การเรียกร้องของฝ่ายหยิง โดยผลกระทบทางจิตใจนี้จะส่งผลต่อการเรียน เช่น หยุดเรียน เสียการเรียน การเรียนตกต่ำ เป็นต้น
๓.๓ ปัญหาทางด้านครอบครัวและสังคม
          การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอาจก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวและสังคมได้ เนื่องจากสภาพความไม่พร้อมของบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบทั้งสองฝ่าย หรือการที่ฝ่ายหญิงต้องรับสภาพเพียงฝ่ายเดียว ปัญหาการปรับตัว ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น ฐานะ การอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน วุฒิภาวะ ความรับผิดชอบ การถูกทอดทิ้ง การทะเลาะเบาะแว้ง ย่อมให้เกิดปัญหาภายในครอบครัวตลอดจนการหมดโอกาสในการเรียนต่อ เพราะต้องรับภาระหน้าที่ความเป็นพ่อหรือแม่ก่อนวัยอันควร ซึ่งมีผลต่อการสร้างรากฐานการดำเนินชีวิตตามสังคมที่ยอมรับได้  


ค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรมไทย

 ค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรมไทย


ค่า นิยมของวัยรุ่นหลายประการสามารถชักนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เช่น พฤติกรรมนิยมมีแฟนในวัยเรียน พฤติกรรมที่วัยรุ่นเรียกว่า “กิ๊ก” ซึ่งวัยรุ่นยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมเหล่านี้ไม่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะมองดูทันสมัย แต่ถ้านำมาปฏิบัติจะนำพาชีวิตไปสู่ทางเสื่อมได้ง่าย ถ้าไม่รู้จักการปฏิบัติและวางตัวให้เหมาะสมกับวัย ซึ่งวัยรุ่นยังขาดประสบการณ์ที่เพียงพอในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศที่ ต้องเรียนรู้อีกมาก
                ค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมจะช่วย ส่งเสริมให้ชีวิตมีคุณค่า ในที่นี้จะนำเสนอค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิต เพื่อที่จะได้พิจารณานำไปปฏิบัติ ดังนี้


               1. ค่านิยมรักนวลสงวนตัว เรื่อง การปฏิบัติตนของเพศหญิงที่เรียกว่า การรักนวลสงวนตัว เป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณกาล ซึ่งในปัจจุบันค่านิยมนี้ยังใช้ได้ดีอยู่ เพราะช่วยป้องกันภัยทางเพศได้ สังคมไทยยังถือเรื่องความบริสุทธิ์ของผู้หญิงเป็นสิ่งสำคัญและมีคุณค่า การปฏิบัติตนเพื่อรักนวลสงวนตัวนั้น ไม่ใช่ว่าตัดความสัมพันธ์ในการคบหาสมาคมกับเพื่อนชายโดยสิ้นเชิง แต่จะเน้นการสร้างสัมพันธภาพที่เหมาะสมต่อกัน เช่น วัยรุ่นหญิงไม่ควรเปิดโอกาสให้เพื่อนชายได้ใกล้ชิดมากจนเกินขอบเขต โดยปล่อยให้จับมือถือแขนโอบกอด ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้สังคมจะมองคุณค่าในตัวของเพศหญิงลดลง ดังนั้นผู้หญิงทุกคนควรไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ เพราะการวางตัวให้เหมาะสมกับวัยจะเป็นที่ชื่นชมของสังคมมากกว่า
               2. ค่านิยมการให้เกียรติและการวางตัว การ ให้เกียรติซึ่งกันและกันและการวางตัวที่เหมาะสมทางเพศ เป็นเรื่องที่วัยรุ่นควรศึกษาเรียนรู้ และนำมาปฏิบัติทั้งต่อเพื่อนเพศเดียวกันและเพศตรงข้ามเพราะเป็นสิ่งที่ สามารถยึดเหนี่ยวน้ำใจระหว่างเพื่อนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น การให้เกียรติและการวางตัวที่ดีทางเพศนั้น ทั้งวัยรุ่นชายหญิงจะต้องแสดงออกต่อกันด้วยความจริงใจ เช่น วัยรุ่นชายควรใช้คำพูดที่สุภาพ ไม่พูดก้าวร้าว ดูหมิ่นศักดิ์ศรีเพื่อนหญิง ควรแสดงความห่วงใยในสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเพื่อนหญิง ไม่ฉวยโอกาสใกล้ชิดเพื่อนหญิงเพื่อจับมือถือแขน หรือลวนลามให้ได้รับความเสียหาย ต้องวางตัวในฐานะเพื่อนให้เพื่อนหญิงไว้ใจ อุ่นใจ ส่วนวัยรุ่นหญิงควรให้เกียรติเพื่อนชายเช่นกัน เช่น ใช้คำพูดที่สุภาพเรียบร้อย แสดงความมีน้ำใจ ไม่แต่งกายล่อแหลมเพื่อยั่วยวนเพื่อนชายด้วยการนุ่งน้อยห่มน้อยชิ้น ปฏิเสธการไปไหนด้วยกันสองต่อสองกับเพื่อนชาย ที่จะเป็นเหตุให้ตนเองไม่ปลอดภัยและสังคมมองไม่ดีได้ เป็นต้น

               3. ค่านิยมสร้างคุณค่าความดีงามในจิตใจ ความ ดีงามในจิตใจเป็นสิ่งมีคุณค่าเพราะเป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปในสังคมยอมรับ วัยรุ่นในฐานะที่กำลังเป็นวัยเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพในอนาคต จึงควรสร้างโอกาสอันดีในการเรียนรู้ฝึกฝนอบรมตัวเองทางด้านจิตใจ ให้เจริญพัฒนาอย่างมีคุณค่าจนเป็นที่ยอมรับของสังคม





                การ สร้างคุณค่าในตัวเองทางจิตใจนั้นสามารถปฏิบัติได้หลายวิธี เช่น การยึดเหนี่ยวจิตใจด้วยหลักทางศาสนาที่ตนนับถือ ซึ่งทุกศาสนาล้วนสอนให้ทุกคนเป็นคนดี วัยรุ่นจึงควรศึกษาทำความเข้าใจในศาสนาของตนเองว่า การปฏิบัติในเรื่องใดสามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพชีวิตของตนเองได้ก็ให้ นำมาปฏิบัติ ในเรื่องเพศก็เช่นกันเดียวกัน ศาสนาไม่มีข้อห้ามแต่ต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับกาลเทศะ เพศ และวัยของตนเองไม่หมกมุ่นฟุ้งซ่านจนเกินขอบเขตก็จะช่วยสร้างชีวิตที่ดีใน อนาคตได้


ค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง
ใน ประเทศไทย มีความเป็นไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเฉพาะค่านิยม ในเรื่องเพศ  ซึ่งม    มีมุมมองได้ 2 ทาง ดังนี้คือ
        1.ค่านิยมทางเพศในเรื่องที่ไม่ถูกต้องสำหรับคนไทย ได้แก่
          1.1  การไม่เผยแพร่ความจริงในเรื่องเพศหรือการไม่ให้ความรู้เรื่องเพศแก่ บุตรหลาน โดยคิดว่าเป็นเรื่องหยาบคาย หรือน่าอาย
          1.2 การไม่สนันสนุนหรือส่งเสริมให้บุคคลในสังคมพูดคุยกันในเรื่องเพศอย่างเปิดเผย
          1.3 การยกย่องให้เพศชายเป็นใหญ่กว่าเพศหญิง
          1.4 การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสโดยถือว่าเพศชายไม่ผิด
        ค่านิยมเหล่านี้ทำให้บุคคลในสังคมมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องรวมทั้งมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง เช่น  การเอาเปรียบเพศตรงกันข้ามเมื่อมีโอกาส ความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ การดูถูกเพศตรงกันข้าม   อันเป็นผลต่อความรักความผูกพัน ความสงบสุข ในครอบครัวและสังคมโดยรวม
        2.ค่านิยมทางเพศที่ดีของสังคมไทย
              1.หญิงไทยมักจะรักนวลสงวนตัว ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน
              2.ชายไทยไม่ควรสำส่อนทางเพศเพราะอาจเกิดผลเสียโดยการติดโรค
              3.ชายไทยมีความรับผิดชอบต่อเพศหญิง ไม่หลอกลวง ไม่ข่มเหงน้ำใจ
              4.ชายไทยรับผิดชอบต่อครอบครัว
        วัยรุ่นในปัจจุบันควรมีเจตคติที่ดีว่าทั้งสองเพศมีความสำคัญเท่าเทียมกัน การสร้างสรรค์สังคมจึงจะเกิดขึ้น   ค่า นิยมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีและยังใช้ได้ในสังคมปัจจุบัน วัยรุ่นจึงควรรักษาค่านิยมที่ดีไว้เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา เช่น    ครอบครัวแตกแยก โรคทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์นอกสมรส การค้าประเวณี การสำส่อนทางเพศ เป็นต้น      หลักในการเลือกคู่ครองสภาพปัจจุบันชายและหญิงมักตัดสินใจเลือกคู่ครองด้วยตน เองดยไม่ขอคำปรึกษาจากพ่อแม่และญาติพี่น้อง 
หรือผู้ใหญ่  จึงทำให้ชีวิตมีทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลวได้หลักในการเลือกคู่ครองโดยทั่วไปพอสรุปได้ดังนี้
          1.มีความรักเป็นพื้นฐาน  เพราะความรักเป็นการแสดงความรู้สึกถึงความผูกพัน ความหวงแหน ความห่วงใย   
          จึงมีความรักใคร่ในคู่ครองที่เราเลือกและควรเลือกคู่ครองที่รักเรา
          2.มีสภาวะด้านต่างๆเหมาะสม เช่น
             2.1 อายุ  ควรอยู่ในเกณฑ์ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ชายควรมีอายุ 25-30 ปี ฝ่ายหญิง ควรมีอายุ 20-25 ปี  มีความพร้อมทางร่างกาย
             2.2 สุขภาพร่างกายารแต่งงานนั้นนอกจากมีความพร้อมทางร่างกายที่จะใหกำเนิดลูกได้ แล้วควรจะต้องคำนึงถึงสุขภาพด้วย         เช่น โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อชีวิตสมรสได้ ดังนั้นจึงมีควรตรวจสุขภาพและถ้าพบว่ามีโรคภัยไข้เจ็บต้องรักษาให้หายเสียก่อน
        2.3 วุฒิภาวะทางอารมณ์ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้ครองเรือน เพราะวุฒิภาวะทางอารมณ์จะเป็นผู้สุขุมรอบคอบ  มีเหตุผล มีความรับผิดชอบ ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถปรับตัวได้ดี
        2.4ระดับสติปัญญา คู่สมรสควรมีระดับสติปัญญาใกล้เคียงกัน เพราะหากสติปัญญาแตกต่างกันมักจะคุยกันไม่รู้เรื่อง
        2.5คู่สมรสควรมีบุคลิกภาพและรสนิยมใกล้เคียงกัน
        2.6 ศาสนาแต่ละศาสนาจะมีศาสนพิธีแตกต่างกันถ้าคู่สมรสต่างศาสนาควรมีการพูดคุยตกลงเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในพิธีกรรมของศาสนาแต่ละฝ่ายเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในครอบครัว
        2.7 วัฒนธรรม เป็นวิธีการดำเนินชีวิตสืบทอดกันมา วัฒนธรรมที่คล้ายกันย่อมปรับตัวเข้ากันได้ง่าย
        2.8 ฐานะทางเศรษฐกิจ  ต้องใกล้เคียงกัน มีการวางแผนการจับจ่ายในครอบครัว




ข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/kruwiruttwk/kha-niym-thang-phes-thi-hemaa-sm-khxng-way-run

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การวางแผนดูแลสุขภาพบุคคลในครอบครัว

การวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว

 

        การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว เป็นเรื่องที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ตัว ของเราเองและบุคคลในครอบครัวเกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกทุกคนในครอบครัว เกิดความรักในครอบครัวซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดี อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต 


 1. คุณค่าของการวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว
คำว่าสุขภาพดีใน แต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่สภาวะสังคม หรือรูปแบบของวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วสุขภาพดีอย่างน้อยจะต้องหมายถึง ความสมบูรณ์ของทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดได้เนื่องจากการดูแลเอาใจใส่ระบบต่างๆ ที่สำคัญของร่างกาย  การที่จะมีสุขภาพดีได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของตนเองหรือของบุคคลในครอบครัว ไม่ใช่เป็นสิ่งเกิดขึ้นได้ด้วยความบังเอิญ หากแต่จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนในการดูแลสุขภาพล่วงหน้าซึ่งจะช่วยให้เกิด ผลดี ดังนี้
1. สามารถที่จะกำหนดวิธีการหรือเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตัวเราเองหรือบุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม           
2. สามารถที่จะกำหนดช่วงเวลาในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม อาจ จะมีกิจกรรมการออกกำลังกายในช่วงเช้า หรือในบางครอบครัวอาจจะมีเวลาว่างในช่วงเย็น ก็อาจจะกำหนดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในช่วงเย็นก็ได้ หรืออาจจะกำหนดช่วงเวลาในการตรวจสุขภาพประจำปีของบุคคลในครอบครัวได้อย่าง เหมาะสม           
3. เป็น การเฝ้าระวังสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว ไม่ให้ป่วยด้วยโรคต่างๆ นับว่าเป็นการสร้างสุขภาพ ซึ่งจะดีกว่าการที่จะต้องมาซ่อมสุขภาพ หรือการรักษาพยาบาลในภายหลัง           
4. ช่วยในการวางแผนเรื่องของเศรษฐกิจและการเงินในครอบครัว เนื่องจากไม่ต้องใช้จ่ายเงินไปในการรักษาพยาบาล           
5. ส่งเสริมสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว           
6. ทำให้คุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและสมาชิกในครอบครัวดีขึ้น

2.หลักในการวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว 
          
1.การ สำรวจรูปแบบการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัวว่าเป็น อย่างไร เนื่องจากการดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวนั้น ไม่ใช่เป็นการดำเนินงานโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงคนเดียวแล้วจะประสบความ สำเร็จ หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในครอบครัวเป็นสำคัญ           
2.จาก ข้อมูลที่ได้ นำมากำหนดเป็นแผนการในการที่จะดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวโดยการกำหนด เป็นแผนในการดูแลสุขภาพซึ่งอาจจะทำแยกเป็นรายบุคคล หรืออาจจะทำเป็นภาพรวมของทุกคนในครอบครัว           
3.เมื่อ กำหนดแผนในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวได้แล้ว ก็ดำเนินตามแผนที่วางไว้ และประเมินผลเป็นระยะๆ ว่าบุคคลในครอบครัวสามารถปฏิบัติตามแผนในการดูแลสุขภาพที่วางไว้ได้หรือไม่ อย่างไร
4.หาก พบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้ ก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ใหม่ ว่าเกิดจากปัจจัยใด และลองปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับสมาชิกในครอบครัวของเราให้มากที่สุด



แหล่งอ้างอิง https://sites.google.com/site/kruwiruttwk/hnwy-thi-2


แบบทดสอบ วิชา พ 42101 สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 
หน่วยที่ 2 สุขภาพครอบครัว
เรื่อง สุขภาพของบุคคลในครอบครัว ชุดที่ 2
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1.
ข้อใดกล่าวถึงความหมายของครอบครัว

 
        ก.  ชายและหญิงทำการสมรสกัน
        ข.  บุคคลที่มีความผูกพันกันทางสายโลหิต
        ค.  บุคคลที่พักอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน  ทำกิจกรรมร่วมกัน
        ง.  บุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน  รักใคร่  ห่วงใย และเอื้ออาทรต่อกัน
2. ครอบครัวของหนูแหววอยู่รวมกัน  4  คน  คือ  พ่อ  แม่  พี่สาว  และหนูแหวว  ครอบครัวนี้จัดเป็นครอบครัวประเภทใด
    ก.  ครอบครัวเดี่ยว
    ข.  ครอบครัวขยาย
    ค.  ครอบครัวแท้     
        ง.  ครอบครัวไม่แท้  
 3. ถ้าพี่สาวของหนูแหววแต่งงานแล้วพาสามีมาอยู่ด้วยในบ้าน  ลักษณะครอบครัวนี้เป็นคอบครัวประเภทใด
    ก.  ครอบครัวแท้
    ข.  
     ครอบครัวไม่แท้
    ค.  
    ครอบครัวเดี่ยว
    ง.  
    ครอบครัวขยาย
4. การวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวเป็นหน้าที่ของใคร
    ก.  แม่
    ข.  
    พ่อ
    ค.  
    พ่อ  แม่  ลูก
    ง.  
    ทุกคนในครอบครัว
5. การดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวข้อใดสำคัญที่สุด
    ก.  การรักษาความสะอาด
    ข.  
    การพักผ่อนหลับนอน
    ค.
    การป้องกันโรค
    ง.  
    การรับประทานอาหาร
6. บุคคลวัยใดที่ควรได้รับการวางแผนดูแลสุขภาพมากที่สุด
    ก.  วัยทารก  วัยเด็ก
    ข.  
    วัยเด็ก  วัยรุ่น
    ค.  
    วัยทารก  วัยรุ่น
    ง.  
    วัยรุ่น  วัยชรา
7. อาหารมื้อใด  สำคัญที่สุดสำหรับร่างกาย
    ก.  มื้อเช้า
    ข.  
    มื้อกลางวัน
    ค.  
    มื้อเย็น
    ง.  
    ทุกๆ มื้อ
8. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมกับสุขภาพของตนเอง
    ก.  สมศรีดื่มน้ำผลไม้ทุกวัน
    ข.  
    วิมลเล่นโยคะหลังเลิกงาน
    ค.  
    นารี  นั่งเล่นคอมพิวเตอร์
    ง.   
    สุดารับประทานอาหารเจทุกมื้อ
9. ข้อใดเป็นโรคที่มักระบาดในฤดูฝน
    ก.  ไข้เลือดออก
    ข.  
    ไอกรน
    ค.  
    หวัด
    ง.  
    โปลิโอ
10. ในวันหนึ่งๆ ร่างกายควรนอนหลับพักผ่อนเป็นเวลาเท่าใดจึงเหมาะ
    ก.  4 - 5  ชั่วโมง
    ข.
     6 - 8  ชั่วโมง
    ค.
    10 - 12 ชั่วโมง
    ง.
     แล้วแต่ความต้องการของร่างกาย
    เฉลยแบบทดสอบ
    1.    2. ก   3.    4.    5.    6.    7.    8.   9.    10.
    แหล่งอ้างอิงของข้อสอบ http://www.thaigoodview.com/library/exam/teachershow/bangkok/pratiean_k/test10.html

เรื่องน่าสนใจ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...