วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันอาสาฬหบูชา

 วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนา โปรดพระปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จนพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้เป็นวันแรกที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นครบองค์พระรัตนตรัย

            วันอาสาฬหบูชา  เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดง พระปฐมเทศนา หรือการแสดง  พระธรรมครั้งแรก หลังจากที่ตรัสรู้ได้ 2 เดือน เป็นวันที่เริ่มประดิษฐานพระพุทธศาสนาเนื่องจากมีองค์ประกอบของ  พระรัตนตรัยครบถ้วนคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี ในวันเพ็ญ (ขึ้น 15ค่ำ) เดือน 8 ดวงจันทร์ เสวยมาฆฤกษ์
            การแสดงพระปฐมเทศนา ได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี พระธรรมที่แสดงคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อเทศนาจบ พระโกณฑัญญะ   หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ผู้ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ  ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม มีความเห็นแจ้งชัดว่า
ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ      สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา    สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา



            เมื่อได้ดวงตาเห็นธรรมจึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ประทานอุปสมบทให้ ด้วยวิธีที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยกล่าวคำว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด พระโกณฑัญญะจึงเป็น พระอริยสงฆ์องค์แรก
            คำว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไปมีความโดยย่อว่า
            ที่สุด 2 อย่างที่บรรพชิตไม่ควรประพฤติปฏิบัติคือ การประกอบตนให้อยู่ในความสุขด้วยกาม ซึ่งเป็นธรรมอันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ที่สุดอีกทางหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้เกิดความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
            การดำเนินตามทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้  ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาและญาณให้เกิด เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ และนิพพาน ทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรค มีองค์แปด คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ดำริห์ชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ  และตั้งใจชอบ  อริยสัจสี่ คือความจริงอันประเสริฐที่พระองค์ค้นพบ มี 4 ประการได้แก่  
               ความทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความได้พบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น ว่าโดยย่อ  อุปาทานในขันธ์ 5 เป็นทุกข์
               สาเหตุแห่งทุกข์  ได้แก่ ตัณหาความทะยานอยาก อันทำให้เกิดอีกความกำหนัด เพลิดเพลินในอารมณ์ คือกามตัณหา ความทะยานอยากในกาม ภวตัณหา ความทะยานในภพ วิภวตัณหา ความทะยานอยากในความไม่มีภพ
               ความดับทุกข์  โดยการดับตัณหาด้วยอริยมรรค คือ วิราคะ สละ ดับ ปล่อยไป ไม่พัวพัน
               หนทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์  ได้แก่ อริยมรรคมีองค์  8 คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตมั่นชอบ
                    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า
                    นี้เป็นทุกข์ อันควรกำหนดรู้  และพระองค์ ได้กำหนดรู้แล้ว
                    นี้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ อันควรละ และพระองค์ ได้ละแล้ว
                    นี้เป็นความดับทุกข์ อันควรทำให้แจ้ง  และพระองค์ ได้ทำให้แจ้งแล้ว
                    นี้เป็นหนทางดับทุกข์ อันควรเจริญ  และพระองค์ ได้เจริญแล้ว
            สรุปได้ว่า ปัญญาอันรู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงในอริยสัจ 4   มีรอบ 3   มีอาการ 12   คือ   ขั้นแรก รู้ว่า อริยสัจแต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไร ขั้นที่สองรู้ว่าควรจะทำอย่างไรในอริยสัจแต่ละประการนั้น และขั้นที่ 3 พระองค์ได้ กระทำตามนั้นสำเร็จเสร็จแล้ว
            พระองค์ทรงเน้นว่า จากการที่พระองค์ทรงค้นพบ คือตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการนี้ การที่พระองค์ทรงกล้าปฏิญญา   ว่าเป็นผู้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะพระองค์ได้รู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริง ในอริยสัจ 4 มี รอบ 3 มีอาการ 12 อย่างหมดจดดีแล้ว
            เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงประกาศพระธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ได้มีการบันลือต่อ ๆ กันไปให้ทราบทั่วกันว่า พระธรรมอันยอดเยี่ยมที่พระองค์ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันใคร ๆ ในโลกจะปฏิวัติไม่ได้



            วันอาสาฬหบูชามีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ 3 ประการคือ
            1.  เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา โดยทางแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร   ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย
            2. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกษุอุปสัมปทา ในวันนั้น
            3. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ ขึ้นในโลกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

ที่มา::
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/budda/theme_4.html

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

8.6 การทำงานของระบบประสาทสั่งการ

ารทำงานของเส้นประสาทในระบบประสาทรอบนอกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่รับความรู้สึก (sensory division) ซึ่งรนับความรู้สึกจากภายนอกและภายในร่างกาย และส่วนที่สั่งการ (motor division) ถ้าการสั่งการเกิดขึ้นกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับได้

 
8.6.1 ระบบประสาทโซมาติก
         ระบบประสาทโซมาติก ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูก โดยเซลล์ประสาทรับความรู้สึกจะรับกระแสประสาทจากน่วยรับความรู้สึกผ่านเส้น ประสาทไขสันหลังหรือเส้นประสาทสมองเข้าสู่ไขสันหลังหรือเส้นประสาทสมองไปยัง หน่วยปฏิบัติงานซึ่งเป็นกล้ามเนื้อยึดกระดูก เช่น การกระตุกขาเมื่อถูกเคาะที่หัวเข่าเบาๆ

 
   การตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น โดยการกระตุกขานี้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนวัติ เรียกว่า รีเฟล็กซ์ (reflex) กิริยาหรืออาการที่แสดงออกเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ เรียกว่า รีเฟล็กซ์แอกชัน (reflex action) เป็นการตอบสนองของหน่วยปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด 
 
 8.6.2 ระบบประสาทอัตโนวัติ

การ ทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ ประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึก ซึงส่วนใหญ่จะอยู่ที่อวัยวะภายในและจะมีเซลล์ประสาทรับความรู้สึกรับกระแส ประสาทผ่านรากบนของกระแสประสาทไขสันหลังเข้าสู่ไขสันหลัง จากไขสันหลังจะมีเซลล์ประสาทออกจากไขสันหลังไปไซแนปส์กับเซลล์ประสาทสั่งการ ที่ปมประสาทอัตโนวัติ (autonomic ganglion) เรียก เซลล์ประสาทที่ออกจากไขสันหลังมาที่ปมปรัสาทอัตโนวัตินี้ว่า เซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ และเรียกเซลล์ประสาทสั่งการที่ออกจากปมประสาทอัตโนวัติว่า เซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ ซึ่งจะนำกระแสประสาทสั่งงานไปยังกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อหัวใจและต่อม

 
ที่มา หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีววิทยาเล่ม 3
ภาพจาก http://cid-acb24e767a2d210a.spaces.live.com/blog/cns!ACB24E767A2D210A!150.entry
http://www.thaigoodview.com/node/57873
 

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หลักการใช้ยาและประเภทของยา

ความหมายของยา ยา เป็นสารเคมีที่เข้าไปในร่างกาย   เพื่อการวินิจฉัย เพื่อการบำบัดรักษา เพื่อการบรรเทาอาการ หรือเพื่อป้องกันโรค คำว่า drug และ medication หมายถึง ยา แต่ใช้ในความหมายต่างกัน drug คือ ยาที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงานของร่างกาย โดยมีผลต่อศักยภาพของร่างกาย เช่น เฮโรอีน โคเคน ส่วน medication เป็นยาที่ใช้เพื่อผลทางการรักษา อาจกล่าวได้ว่า ยาที่ใช้ในการรักษาทุกชนิด คือยา แต่ยาทุกชนิดอาจไม่ได้ใข้เพื่อการรักษา การใช้ยาให้ได้ผลดีและปลอดภัย พยาบาลผู้มีหน้าที่ให้ยาหรืผู้ใช้ยาต้องมีความรู้เกี่ยวกับยาและการใช้ยา เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้ยาที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ได้รับยาและพยาบาลผู้ รับยาอาจได้รับโทษ 

http://student.mahidol.ac.th/~u4909269/page3.htm

ประเภทของยา อาจแบ่งตามชนิดที่มีลักษณะหรือข้อกำหนดต่าง ๆ เช่นแบ่งตามการผลิตยา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
 
 1. ยาสำเร็จรูป ได้แก่ ยาที่บริษัทต่าง ๆ ได้ผลิตขึ้นและจดทะเบียนไว้กับทางราชการ ยาพวกนี้มีลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น ยาเม็ด ยาน้ำ หรือยาฉีด เป็นการสะดวกแก่แพทย์ที่จะสั่งใช้

 2. ยาผสม คือ ยาที่แพทย์สั่งให้เภสัชกรผสม โดยมากสั่งให้เฉพาะบุคคลการผสมยาพวกนี้มีตามโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลใหญ่ ๆ ที่มีเภสัชกรปฏิบัติงานเป็นประจำ

 แบ่งตาม พ.ร.บ. ควบคุมยา ซึ่งแบ่งย่อยออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

 1. ยาสามัญประจำบ้านหรือยาแผนปัจจุบัน เป็นยาที่ประชาชนทั่วไปหาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ มักใช้กับโรคที่ไม่รุนแรงมากนัก ไม่จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจ เช่น ปวดศีรษะ ท้องอืด เป็นต้น แต่หากอาการเหล่านี้ไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์

 2. ยาอันตราย เป็นยาสำเร็จรูปที่ใช้ในการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยมีตัวยาหลายชนิด แต่ละชนิดมีทั้งคุณและโทษ การใช้ต้องระมัดระวังรอบคอบ เพราะจะทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้เสมอ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้เป็นยาอันตราย เช่น ยาปฏิชีวนะ

 3. ยาควบคุมพิเศษ หมายถึง ยาที่มีอันตรายมาก ฤทธิ์ของยาที่สำคัญและร้ายแรงมากบางชนิด เป็นยาเสพติดให้โทษ ถ้ากินเข้าไปนานจะเกิดการติดยา เช่น ยานอนหลับประเภทต่าง ๆ ยาระงับประสาท หรือยากล่อมประสาทบางชนิด



วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การป้องกัน แนวทางปัญหา สาธารณสุขในชุมชน

ปัญหาสาธารณสุข

1. ผู้รับบริการ 
  • มีมาก   กระจาย  รับบริการได้ไม่ทั่วถึง
  • การเสียชีวิตด้วยโรคที่ป้องกันได้เพิ่มขึ้น
  • ประชาชนมีอายุยืนยาว
  • อัตราการเกิดลดลง
2. ผู้ให้บริการ
  • ไม่กระจาย 
  • ไม่ทั่วถึง
  • ไม่เพียงพอ
  • ไม่เชี่ยวชาญ ในเรื่องที่จำเป็น
  • รักษาเฉพาะด้าน  ไม่เป็นองค์รวม  
3. กระบวนการผลิตบุคลากรทางสาธารณสุข 
  • มีการผลิต บุคลากรได้ไม่ตรงสายงานด้านที่มีความต้องการในประเทศ
  • กระบวนการผลิตไม่เน้นกระบวนการ เข้าใจ เข้าถึงผู้รับบริการ
  • ผู้จบการศึกษาไม่มีความต้องการทำงานในพื้นที่ยากลำบาก
การดำเนินงานป้องกัน ควบคุม
ระดับ 1 ระดับเฉพาะตัวบุคคล
  • ฉีดวัคซีน
ระดับ 2 ระดับชุมชนในท้องถิ่น
  • ป้องกันโรคติดต่อในชุมชน  เท้าช้าง คอตีบ
ระดับ 3 ระดับชาติ
  • ไข้เลือดออก กามโรค
ระดับ 4 ระดับนานาชาติ หรือระดับโลก
  • อหิวาตกโรค  ไข้หวัดใหญ่
มาตรการป้องกันควบคุม

1.มาตรการหลัก หรือ มาตรการเฉพาะโรค
2.มาตรการรอง หรือ มาตรการสนับสนุน
มาตรการป้องกันควบคุม
ปัญหาสาธารณสุข
มาตรการหลัก
การป้องกันการเกิดโรค
การป้องกันความพิการและเสียชีวิต
อุบัติเหตุ
ให้การศึกษา
ยกระดับเศรษฐกิจและสังคม
ปฐมพยาบาลขั้นต้น
รักษาป้องกันความพิการ
โรคอุจจาระร่วงในเด็ก
ปรับปรุงสุขาภิบาล สวล. จัดหาน้ำสะอาด
กำจัดของเสีย สิ่งปฏิกูล
ยกระดับสุขวิทยาบุคคล และชุมชน
รักษาอาการขาดน้ำ เกลือแร่ทางเส้นเลือด  การกิน 
ป้องกัน รักษาโรคแทรกซ้อนและการขาดสารอาหาร
โรคคอตีบ
ฉีดวัคซีน
รักษาโดยยาปฏิชีวนะ


วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

การปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

 การปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

 

 

การช่วยผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุจราจร
การปฐมพยาบาลจะช่วยลดภาวะเสี่ยงอันตรายของผู้ประสบอุบัติเหตุ ทั้งนี้การช่วยเหลือจะต้องทำอย่างถูกขั้นตอนตามหลักการแพทย์ มิเช่นนั้นผู้บาดเจ็บจะได้รับอันตรายจากการปฐมพยาบาลแทนที่จะปลอดภัย ก่อนที่จะเริ่มการปฐมพยาบาลควรตรวจรอบบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ ทำการเก็บศพถ้ามีผู้เสียชีวิต ช่วยเหลือผู้ที่ได้ประสบอุบัติเหตุ จนนำส่งโรงพยาบาล และดำเนินการช่วยเหลือถึงที่สุดความสามารถ

หลักการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือต่อผู้บาดเจ็บหรือผู้เจ็บป่วย ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่หาได้ขณะนั้น หลังจากนั้นส่งผู้บาดเจ็บให้อยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์

วัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล
1. เพื่อช่วยชีวิต
2. ลดความรุนแรง ภาวะไม่พึงประสงค์
3. เพื่อป้องกันความพิการ
4. บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน
5. ช่วยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
เริ่มต้นปฐมพยาบาล

หลักการทั่วไปสำหรับการช่วยเหลือปฐมพยาบาล คือจำเป็นจะต้องกระทำโดยเร็วที่สุด และมีสิ่งพึงระวังถึงบุคคล 2 กลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่มผู้ช่วยเหลือ
บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์อุบัติเหตุขณะนั้นส่วนมากแล้วจะเป็นผู้ช่วยเหลือ จึงควรมีหลักการช่วยเหลือ คือมองดู สำรวจระบบสำคัญของร่างกายอย่างรวดเร็ว และวางแผนช่วยเหลืออย่างมีสติ ไม่ตื่นเต้นตกใจ
ห้ามเคลื่อนย้าย
เมื่อ อวัยวะต่างๆ บาดเจ็บ ร่างกายได้รับความกระกระเทือน อาจมีการฉีกขาด หัก มีเลือดออกทั้งภายในและภายนอก ซึ่งผู้ช่วยเหลืออาจมองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ได้ การเคลื่อนย้ายทันทีอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บมากขึ้น โดยเฉพาะถ้ากระดูกสันหลังหัก กระดูกที่หักจะตัดไขสันหลัง จะทำให้ผู้บาดเจ็บพิการตลอดชีวิตได้
ดังนั้นไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจนกว่าจะแน่ใจว่า เคลื่อนย้ายได้
ข้อยกเว้น
กรณีที่การบาดเจ็บเกิดขึ้นในสถานที่ที่ไม่สะดวกต่อการปฐมพยาบาล หรืออาจเกิดอันตรายมากขึ้นทั้งผู้บาดเจ็บและผู้ช่วยเหลือ จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไปที่ปลอดภัยก่อน จึงทำการปฐมพยาบาลได้ เช่น อยู่ในห้องทึบ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก อยู่ในน้ำ หรืออยู่ในกองไฟ เป็นต้น แต่ต้องเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะบริเวณศีรษะ คอ และหลัง

ต้องระวัง
การให้ความช่วยเหลือด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวัง ควรให้ความช่วยเหลือตามลำดับความสำคัญของการมีชีวิต หรือตามความรุนแรงที่ผู้บาดเจ็บได้รับ

2. กลุ่มผู้บาดเจ็บ
ผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ต่างๆ อันตรายที่ร่างกายได้รับ เรียงตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
1.หยุดหายใจ
2.ทางเดินหายใจอุดตัน หัวใจหยุดเต้น
3.เสียโลหิตจำนวนมากอย่างรวดเร็ว
4.หมดสติ
5.เจ็บปวด
6.อัมพาต
7.กระดูกหัก

ข้อควรจำ
การปฐมพยาบาลที่ดี ผู้ช่วยเหลือควรให้การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว นุ่มนวล และต้องคำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้บาดเจ็บ ควรได้รับการปลอบประโลม และให้กำลังใจเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะได้รับการช่วยเหลืออย่างปลอดภัย
ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บ
เมื่ออุบัติเหตุจราจรเกิดขึ้น เหตุการณ์ดังกล่าวจะประกอบได้ด้วยสถานการณ์ที่อันตรายและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้ที่ให้การช่วยเหลือต้องตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์นั้น จะทำให้การช่วยเหลือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าหากผู้ช่วยเหลือไม่ตระหนักถึงอันตรายของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว อาจได้รับอันตรายทั้งผู้ช่วยเหลือและผู้บาดเจ็บ การไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินสภาพผู้บาดเจ็บก่อนให้การปฐมพยาบาล อาจก่อให้เกิดผลเสียและทำให้ผู้บาดเจ็บได้รับอันตรายมากยิ่งขึ้นได้
4.สำรวจผู้บาดเจ็บขั้นที่ 2
ถ้าพบว่าผู้บาดเจ็บมีอาการรุนแรงสาหัส ไม่ต้องสำรวจขั้นที่ 2 แล้ว ให้เรียกรถพยาบาลและทำการปฐมพยาบาลอาการที่รุนแรงทันที
สัมภาษณ์ผู้บาดเจ็บ
ถามคำถามง่ายๆ ใช้เวลาไม่นาน บางครั้งผู้บาดเจ็บไม่สามารถอธิบาย หรือแยกแยะข้อมูลได้ เช่น ผู้บาดเจ็บที่เป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่หมดสติชั่วขณะหนึ่ง ให้ใช้การพิจารณาตัดสินใจเอง และสังเกตการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
-ชื่อ นามสกุล
-เกิดอะไรขึ้น
-เจ็บปวดบริเวณใด
-ต้องการให้ช่วยอะไร


ตรวจการหายใจ
สังเกตว่ามีการหายใจที่ผิดปกติหรือไม่ เช่น หอบ หายใจมีเสียงผิดปกติ หายใจเร็วหรือช้ากว่าปกติ แล้วรู้สึกเจ็บ
-หอบหรือไม่
-หายใจเร็วหรือช้า
-หายใจเจ็บหรือไม่


ตรวจร่างกายตลอดศีรษะจรดเท้า

เพื่อให้ได้ข้อมูลบาดเจ็บครบถ้วน ควรตรวจร่างกายตั้งแต่ ศีรษะ ใบหน้า ลำคอ ไหล่ แขน 2 ข้าง ทรวงอก สะโพก ขาทั้ง 2 ข้าง และเท้าตามลำดับ
ถ้าผู้บาดเจ็บเคลื่อนไหวได้ ไม่มีอาการบาดเจ็บ และไม่มีลักษณะการบาดเจ็บให้เห็น ควรพักประมาณ 2 -3 นาที แล้วเริ่มนั่งตรวจสิ่งผิดปกติเป็นระยะ ซึ่งถ้าไม่มีอาการเลวลงผู้บาดเจ็บค่อยๆ ลุกขึ้นยืน
-บอกให้ผู้บาดเจ็บหายใจเข้า - ออก ลึกๆ ช้าๆ
-ถามถึงความรู้สึกเจ็บปวด บริเวณช่องอกและช่องท้อง
ขั้นตอนการช่วยเหลือ

1.สำรวจสถานการณ์
ต้องประเมินว่าสถานการณ์นั้นปลอดภัยพอที่จะเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บ ถ้าไม่ปลอดภัยควรขอความช่วยเหลือจากหน่วยกู้ภัยต่างๆ โดยเร็ว และไม่ควรเข้าไปใกล้สถานการณ์ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ช่วยเหลือได้

2.สำรวจผู้บาดเจ็บขั้นที่ 1
เมื่อแน่ใจว่าสถานการณ์ปลอดภัยแล้วรีบทำการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทันที ถ้ามีผู้บาดเจ็บหลายคนต้องทำการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่มีอาการสาหัสก่อน ได้แก่
หมดความรู้สึก
ถ้าไม่รู้สึกตัวหรือหมดสติต้องระวังทางเดินหายใจอุดตัน ล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออก เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
ระบบหายใจ
สังเกตดูการเคลื่อนไหวขึ้นลงของทรวงอกฟังเสียงลมหายใจ และให้แก้มสัมผัสลมหายใจที่เป่าออกมา ปกติผู้ใหญ่หายใจประมาณ 12 -20 ครั้งต่อนาที
การเต้นของหัวใจ
ใช้นิ้วมือแตะที่เส้นเลือดแดงบริเวณข้างลำคอ การเต้นของหัวใจของวัยผู้ใหญ่ประมาณ 60 - 90 ครั้งต่อนาที
เสียเลือด
ปริมาณเลือดที่ออกจากบาดแผลและจากอาการแสดงของผู้บาดเจ็บ

3.ขอความช่วยเหลือ

ผู้บาดเจ็บที่จำเป็นค่าสินไหมทดแทน ควรเรียกพยาบาลมาช่วยควรให้ข้อมูลที่จำเป็น เพื่อการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ
สถานที่เกิดเหตุ สถานที่ใก้ลเคียง หรือจุดสังเกตุเห็นได้ง่าย
สถานการณ์
จำนวนผู้บาดเจ็บ
อาการผู้บาดเจ็บที่ประเมินได้ 


ที่มา: http://www.nmt.ac.th/product/web/1/t3.html

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม

ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม

การใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายหลายประการ ดังนี้

๑. เด็กถูกทำร้าย  การทำร้ายเด็กแบ่งได้เป็น ๔ประการคือ
      ๑.๑ การทำร้ายร่างกาย มีทั้งบุคคลในครอบครัวและบุคคลภายนอก ที่ทำร้ายเด็ก
      ๑.๒   การทำร้ายจิตใจ อาจเกิดจากทั้งบุคคลในครอบครัว และ บุคคลภายนอก เช่นการใช้คำพูดดุด่า ดู  ถูกเหยียดหยาม   ขู่เข็ญ   กักขัง   ควบคุม          ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นสิ่ง   ที่ไม่เหมาะ
      ๑.๓ การล่วงเกินทางเพศ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กหญิง   มีทั้งบุคคลในครอบครัวและบุคคลภายนอก ที่ทำร้ายเด็ก
      ๑.๔   การ ทอดทิ้ง คือการขาดความรับผิดชอบที่จะดูแลเด็ก ผลักความรับผิดชอบให้เป็นหน้าที่ของผู้อื่น ส่วนใหญ่เกิดจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

๒.การทำร้ายภรรยาหรือสามี  เป็นการกระทำที่รุนแรงต่อคู่สมรสของตนเอง ส่วนใหญ่พบว่าสามีมักกระทำต่อภรรยาของตนเอง  อาจทำร้ายทางจิตใจด้วยการด่า บังคับ ขู่เข็ญ  ไม่เลี้ยงดูและการทำร้ายร่างกายด้วยการตบ ตี ชกต่อย เตะ หรือใช้สิ่งของซึ่งเป็นอาวุธทำร้ายจนเกิดการบาดเจ็บหรือจนถึงขั้นเสียชีวิต

๓. การหย่าร้าง  สามีภรรยาที่ใช้ความรุนแรงต่อกัน อาจเกิดการหย่าร้างกันได้

๔. การทำร้ายผู้สูงอายุ เป็นการทำร้ายโดยตรงทางร่างกายจิตใจ ตลอดจนการทอดทิ้งไม่สนใจเรื่องความเป็นอยู่หรือปล่อยให้อยู่เองตามยถากรรม ซึ่งมักพบในสังคมปัจจุบัน
๕. การทำร้ายกันระหว่างบุคคล เป็นความรุนแรงที่พบมากที่สุด เช่น การทะเลาะเบาะแว้งแล้วทำร้ายกัน ในบางกรณี
๖. เด็กเร่ร่อน เด็กบางคนถูกกระทำความรุ่นแรงจากครอบครัวอาจหนีออกจากบ้านกลายเป็นเด็กเร่ร่อน
๗. อาชญากรรม การกระทำความรุนแรงในสังคมหลายอย่างเป็นอาชญากรรม เช่น การปล้น จี้ ฆ่า ทำร้ายร่างกายกัน การฉุดคร่า ข่มขืน
๘. ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ  เมื่อเกิดการบาดเจ็บต้องรักษาพยาบาล  โดย มีค่าใช้จ่ายบางรายอาจทำงานไม่ได้ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง และ หากเสียชีวิตก็เป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคคลซึ่งถ้าอยู่ในวัยทำงานมีรายได้ก็ ทำหมดโอกาส

แนวทางป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม

 

๑ ปลูกฝังความรักและความเข้าใจกันในครอบครัว  พูดจากันด้วยเหตุผล  เห็นใจผู้อื่นอ่อนแอกว่า  ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน
๒ หลีกเลื่องปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความรุ่นแรง  เช่น  การดื่มสุรา  การคบชู้  เล่นการพนัน การทะเลาะเบาะแว้งมีเรื่องกันปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดความรุ่นแรงได้                                                            
                                          ความขัดแย้งแก้ไขได้ถ้าเข้าใจกัน. ความขัดแย้งเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้
๓  จัดการกับอารมณ์และความเครียด เพราะเมื่อเกิดอารมณ์ไม่ดีอาจก่อให้เกิดการใช้ความรุ่นแรง

๔  มีค่านิยมที่ถูกต้อง เช่น ผู้ชายไม่ถืออำนาจและทำรุ่นแรงกับผู้หญิง  ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร รู้จักใช้ถุงยางอนามัย และไม่ก่อคดีข่มขืน

 ๕  เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องให้ความร่วมมือ  โดยควบคุมและป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด

เมื่อเกิดความรุนแรงในครอบครัว และสังคม  ควรปฏิบัติดังนี้
                                             เข้าพูดคุยกันอย่างมีสติ
๑ พาผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาจากแพทย์
๒ พาผู้ป่วยไปพบจิตแพทย์ ถ้าเป็นความกระทบกระเทือนทางจิตใจ เช่น ถูกข่มขืน ถูกทำร่างกายจนเสียขวัญ ถูกขู่อาฆาต ถูกหน่วงเหนียวใจกักขังจนเป็นเหตุให้เสียสุขภาพจิตควรไปพบแพทย์
๓  พาผู้ที่ชอบใช้ความรุนแรงไปพบจิตแพทย์ เพื่อตรวยสอบความผิดปกติของเขาว่ามีความผิดปกติทางจิตหรือไม่
๔  ควร มีการไกล่เกลี่ยประนีประนอมกัน เช่น ให้ทั้งสองฝ่ายปรึกษากับคนที่ตนนับถือ หรือ พบเจ้าหน้าที่ตำรวจ แม้ว่าจะมีปัญหาความรุนแรงเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีก
๕  แจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ก่อความรุนแรง  เพื่อให้เข็ดหลาบ จะได้ไม่ก่อความรุนแรงซ้ำอีก


ความคิดเห็น

 

 



วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

การประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงตนเอง-ชุมชน

การประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงตนเอง

การประเมินความเสี่ยง (Risk appraisal)

          การประเมินความเสี่ยง หมายถึง การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อันตรายอุบัติเหตุ และปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ ของบุคคล และกลุ่มเสี่ยง ออกมาเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative approach) โดยใช้แบบประเมินที่วัดภาวะสุขภาพ ดังนี้ (สมจิต แดนสีแก้ว,2545)
          1. ปริมาณสารเคมีหรือสารอาหารในร่างกาย เช่น ปริมาณน้ำตาลในเลือดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย น้ำหนักตัว ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
          2. ความรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ เช่น ความรู้ของมารดาต่อการเลี้ยงดูบุตร ความรู้เกี่ยวกับการ ปฏิบัติตนของผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น                    ความเสี่ยงอาจมีผลมาจากภาพชุมชนที่ ไม่        ปลอดภาย
          3. ทัศนคติต่อภาวะสุขภาพนั้น ๆ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาไสยศาสตร์ หรือสมุนไพร หรือทัศนคติต่อผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น
          4. การปฏิบัติตนซึ่งมีผลต่อสุขภาพ เช่น (Health behaviors or practice related to health hazard or health problem) ความเคยชินที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหาร สุก ๆ ดิบ ๆ หรือ การขับรถโดยไม่ตรวจสอบสภาพรถ เป็นต้น
          5. ปัจจัยหรือองค์ประกอบด้านประชากร เช่น การย้ายถิ่น อายุ เพศ อื่น ๆ หรือ สิ่งแวดล้อมที่คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของโรคหรืออันตรายนั้น ๆ เช่น การย้ายถิ่น อายุ เพศ อื่น ๆ หรือ สิ่งแวดล้อมที่คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของโรคหรืออันตรายนั้น ประวัติการเจ็บป่วยส่วนบุคคลและครอบครัว คนที่มีสมาชิกครอบครัว เป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติ

การประเมินภาวะเสี่ยง

          วิธีการที่จะประเมินความเสี่ยง หรือ การวัดปริมาณการได้รับปัจจัยเสี่ยง ขึ้นอยู่กับองค์ความรู้เกี่ยวกับผลทางด้านชีววิทยาของการได้รับปัจจัยนั้น ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการเกิดโรค โดยปกติความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับการเกิดโรคใดๆ มักเป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน (Multiple causes and effects) (อัมพร เจริญชัย และเปรื่องจิตร ฆารรัศมี,2544; สมจิต แดนสีแก้ว,2545)
          แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินภาวะเสี่ยงแบบประเมินภาวะเสี่ยง (Health risk profile)ที่ใช้กันบ่อย มี 3 ประเภท ได้แก่ (Goeppinger, 1988)
                    1) Health-hazard appraisal เป็นวิธีการประเมินปัจจัยเสี่ยงของโรคหรือปัญหาสุขภาพ การตาย โดยนำความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติระยะใดของโรค เพื่อค้นหาความต้องการเฉพาะ (Specific need) ของผู้ป่วย
                    2) Lifetime-health-monitoring program (LHMP) เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของบุคคลที่ยังไม่เจ็บป่วย แต่สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง เช่นมีพฤติกรรมเสี่ยง คือ การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า
                    3) Wellness inventory เป็นเครื่องมือที่ประเมินความเสี่ยงของบุคคลทั่วไป โดยมุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างภาวะสุขภาพ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดโรค เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและจัดการกับความเครียด แบบประเมินชนิดนี้นิยมใช้กันอย่างหลากหลายมาก การประเมินเน้นการส่งเสริมสุขภาพ

 การวัดความเสี่ยง (Measurement of risk) 

 การแสดงค่าความเสี่ยงโดยการเปรียบเทียบอุบัติการณ์(Incidence) ของโรคระหว่างสองกลุ่มหรือมากกว่า ว่ามีความแตกต่างของการได้รับสิ่งที่สงสัยว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือไม่ โดยพิจารณาจาก
                    1) ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น (Attributable risk) โดยพิจารณาว่า ความเสี่ยงของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ด้วยการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับปัจจัยกับกลุ่มที่ไม่ได้รับปัจจัย การคิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น โดยการใช้ค่าอุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มที่ได้รับปัจจัย ลบด้วย ค่าอุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มที่ไม่ได้รับปัจจัย ซึ่งอุบัติการณ์ในกลุ่มผู้ที่ไม่มีปัจจัย ถือว่าเป็นผลจากปัจจัยอื่น
                    2) ความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative risk) เพื่อดูว่า ผู้ที่ได้รับปัจจัยเสี่ยงมีโอกาสเกิดโรคเป็นกี่เท่าของผู้ที่ไม่ได้รับ ปัจจัย โดยการคำนวณค่า relative risk หรือ risk ratio ค่านี้ใช้บอกระดับความสัมพันธ์ (Strength of association) ระหว่างการได้รับปัจจัยกับการเกิดโรค

การประเมินภาวะเสี่ยงของชุมชน 

 การประเมินภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของชุมชนทำได้หลายระดับ ตั้งแต่ระยะที่บุคคลหรือกลุ่มในชุมชนสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง ไปจนถึงเกิดโรคแล้วและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการหรือการเสียชีวิต ข้อมูลที่จำเป็นต่อการประเมินความเสี่ยงของชุมชนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้( สมจิต แดนสีแก้ว,2545)
                    1) การรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาทางวิทยาการระบาด ได้แก่ การสำรวจภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชนโดยใช้เครื่องมือประเมินภาวะ เสี่ยงในระดับบุคคล (Health - risk appraisal)
                    2) สถิติการเจ็บป่วยและการตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ (Morbidity and mortalityrates) ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งที่ผ่านการพิสูจน์จากการวิจัย
                    3) การศึกษาวิทยาการระบาดเชิงพรรณนา (Descriptive study) ที่แสดงแบบแผนการเกิดโรคตามลักษณะของบุคคล เวลาและสถานที่ ข้อมูลการเจ็บป่วยและการตายสามารถช่วยระบุปัญหา (Identify Problem) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Identify group) หลังจากนั้นให้ประเมินความเสี่ยงระดับบุคคลที่เป็นสมาชิกของกลุ่มจะเป็นภาพ ของความเสี่ยงของทั้งกลุ่ม ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มย่อย (Subpopulation) ของชุมชน

เรื่องน่าสนใจ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...