วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หลักการใช้ยาและประเภทของยา

ความหมายของยา ยา เป็นสารเคมีที่เข้าไปในร่างกาย   เพื่อการวินิจฉัย เพื่อการบำบัดรักษา เพื่อการบรรเทาอาการ หรือเพื่อป้องกันโรค คำว่า drug และ medication หมายถึง ยา แต่ใช้ในความหมายต่างกัน drug คือ ยาที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงานของร่างกาย โดยมีผลต่อศักยภาพของร่างกาย เช่น เฮโรอีน โคเคน ส่วน medication เป็นยาที่ใช้เพื่อผลทางการรักษา อาจกล่าวได้ว่า ยาที่ใช้ในการรักษาทุกชนิด คือยา แต่ยาทุกชนิดอาจไม่ได้ใข้เพื่อการรักษา การใช้ยาให้ได้ผลดีและปลอดภัย พยาบาลผู้มีหน้าที่ให้ยาหรืผู้ใช้ยาต้องมีความรู้เกี่ยวกับยาและการใช้ยา เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้ยาที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ได้รับยาและพยาบาลผู้ รับยาอาจได้รับโทษ 

http://student.mahidol.ac.th/~u4909269/page3.htm

ประเภทของยา อาจแบ่งตามชนิดที่มีลักษณะหรือข้อกำหนดต่าง ๆ เช่นแบ่งตามการผลิตยา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
 
 1. ยาสำเร็จรูป ได้แก่ ยาที่บริษัทต่าง ๆ ได้ผลิตขึ้นและจดทะเบียนไว้กับทางราชการ ยาพวกนี้มีลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น ยาเม็ด ยาน้ำ หรือยาฉีด เป็นการสะดวกแก่แพทย์ที่จะสั่งใช้

 2. ยาผสม คือ ยาที่แพทย์สั่งให้เภสัชกรผสม โดยมากสั่งให้เฉพาะบุคคลการผสมยาพวกนี้มีตามโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลใหญ่ ๆ ที่มีเภสัชกรปฏิบัติงานเป็นประจำ

 แบ่งตาม พ.ร.บ. ควบคุมยา ซึ่งแบ่งย่อยออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

 1. ยาสามัญประจำบ้านหรือยาแผนปัจจุบัน เป็นยาที่ประชาชนทั่วไปหาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ มักใช้กับโรคที่ไม่รุนแรงมากนัก ไม่จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจ เช่น ปวดศีรษะ ท้องอืด เป็นต้น แต่หากอาการเหล่านี้ไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์

 2. ยาอันตราย เป็นยาสำเร็จรูปที่ใช้ในการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยมีตัวยาหลายชนิด แต่ละชนิดมีทั้งคุณและโทษ การใช้ต้องระมัดระวังรอบคอบ เพราะจะทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้เสมอ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้เป็นยาอันตราย เช่น ยาปฏิชีวนะ

 3. ยาควบคุมพิเศษ หมายถึง ยาที่มีอันตรายมาก ฤทธิ์ของยาที่สำคัญและร้ายแรงมากบางชนิด เป็นยาเสพติดให้โทษ ถ้ากินเข้าไปนานจะเกิดการติดยา เช่น ยานอนหลับประเภทต่าง ๆ ยาระงับประสาท หรือยากล่อมประสาทบางชนิด



วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การป้องกัน แนวทางปัญหา สาธารณสุขในชุมชน

ปัญหาสาธารณสุข

1. ผู้รับบริการ 
  • มีมาก   กระจาย  รับบริการได้ไม่ทั่วถึง
  • การเสียชีวิตด้วยโรคที่ป้องกันได้เพิ่มขึ้น
  • ประชาชนมีอายุยืนยาว
  • อัตราการเกิดลดลง
2. ผู้ให้บริการ
  • ไม่กระจาย 
  • ไม่ทั่วถึง
  • ไม่เพียงพอ
  • ไม่เชี่ยวชาญ ในเรื่องที่จำเป็น
  • รักษาเฉพาะด้าน  ไม่เป็นองค์รวม  
3. กระบวนการผลิตบุคลากรทางสาธารณสุข 
  • มีการผลิต บุคลากรได้ไม่ตรงสายงานด้านที่มีความต้องการในประเทศ
  • กระบวนการผลิตไม่เน้นกระบวนการ เข้าใจ เข้าถึงผู้รับบริการ
  • ผู้จบการศึกษาไม่มีความต้องการทำงานในพื้นที่ยากลำบาก
การดำเนินงานป้องกัน ควบคุม
ระดับ 1 ระดับเฉพาะตัวบุคคล
  • ฉีดวัคซีน
ระดับ 2 ระดับชุมชนในท้องถิ่น
  • ป้องกันโรคติดต่อในชุมชน  เท้าช้าง คอตีบ
ระดับ 3 ระดับชาติ
  • ไข้เลือดออก กามโรค
ระดับ 4 ระดับนานาชาติ หรือระดับโลก
  • อหิวาตกโรค  ไข้หวัดใหญ่
มาตรการป้องกันควบคุม

1.มาตรการหลัก หรือ มาตรการเฉพาะโรค
2.มาตรการรอง หรือ มาตรการสนับสนุน
มาตรการป้องกันควบคุม
ปัญหาสาธารณสุข
มาตรการหลัก
การป้องกันการเกิดโรค
การป้องกันความพิการและเสียชีวิต
อุบัติเหตุ
ให้การศึกษา
ยกระดับเศรษฐกิจและสังคม
ปฐมพยาบาลขั้นต้น
รักษาป้องกันความพิการ
โรคอุจจาระร่วงในเด็ก
ปรับปรุงสุขาภิบาล สวล. จัดหาน้ำสะอาด
กำจัดของเสีย สิ่งปฏิกูล
ยกระดับสุขวิทยาบุคคล และชุมชน
รักษาอาการขาดน้ำ เกลือแร่ทางเส้นเลือด  การกิน 
ป้องกัน รักษาโรคแทรกซ้อนและการขาดสารอาหาร
โรคคอตีบ
ฉีดวัคซีน
รักษาโดยยาปฏิชีวนะ


เรื่องน่าสนใจ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...