วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

การประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงตนเอง-ชุมชน

การประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงตนเอง

การประเมินความเสี่ยง (Risk appraisal)

          การประเมินความเสี่ยง หมายถึง การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อันตรายอุบัติเหตุ และปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ ของบุคคล และกลุ่มเสี่ยง ออกมาเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative approach) โดยใช้แบบประเมินที่วัดภาวะสุขภาพ ดังนี้ (สมจิต แดนสีแก้ว,2545)
          1. ปริมาณสารเคมีหรือสารอาหารในร่างกาย เช่น ปริมาณน้ำตาลในเลือดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย น้ำหนักตัว ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
          2. ความรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ เช่น ความรู้ของมารดาต่อการเลี้ยงดูบุตร ความรู้เกี่ยวกับการ ปฏิบัติตนของผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น                    ความเสี่ยงอาจมีผลมาจากภาพชุมชนที่ ไม่        ปลอดภาย
          3. ทัศนคติต่อภาวะสุขภาพนั้น ๆ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาไสยศาสตร์ หรือสมุนไพร หรือทัศนคติต่อผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น
          4. การปฏิบัติตนซึ่งมีผลต่อสุขภาพ เช่น (Health behaviors or practice related to health hazard or health problem) ความเคยชินที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหาร สุก ๆ ดิบ ๆ หรือ การขับรถโดยไม่ตรวจสอบสภาพรถ เป็นต้น
          5. ปัจจัยหรือองค์ประกอบด้านประชากร เช่น การย้ายถิ่น อายุ เพศ อื่น ๆ หรือ สิ่งแวดล้อมที่คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของโรคหรืออันตรายนั้น ๆ เช่น การย้ายถิ่น อายุ เพศ อื่น ๆ หรือ สิ่งแวดล้อมที่คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของโรคหรืออันตรายนั้น ประวัติการเจ็บป่วยส่วนบุคคลและครอบครัว คนที่มีสมาชิกครอบครัว เป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติ

การประเมินภาวะเสี่ยง

          วิธีการที่จะประเมินความเสี่ยง หรือ การวัดปริมาณการได้รับปัจจัยเสี่ยง ขึ้นอยู่กับองค์ความรู้เกี่ยวกับผลทางด้านชีววิทยาของการได้รับปัจจัยนั้น ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการเกิดโรค โดยปกติความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับการเกิดโรคใดๆ มักเป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน (Multiple causes and effects) (อัมพร เจริญชัย และเปรื่องจิตร ฆารรัศมี,2544; สมจิต แดนสีแก้ว,2545)
          แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินภาวะเสี่ยงแบบประเมินภาวะเสี่ยง (Health risk profile)ที่ใช้กันบ่อย มี 3 ประเภท ได้แก่ (Goeppinger, 1988)
                    1) Health-hazard appraisal เป็นวิธีการประเมินปัจจัยเสี่ยงของโรคหรือปัญหาสุขภาพ การตาย โดยนำความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติระยะใดของโรค เพื่อค้นหาความต้องการเฉพาะ (Specific need) ของผู้ป่วย
                    2) Lifetime-health-monitoring program (LHMP) เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของบุคคลที่ยังไม่เจ็บป่วย แต่สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง เช่นมีพฤติกรรมเสี่ยง คือ การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า
                    3) Wellness inventory เป็นเครื่องมือที่ประเมินความเสี่ยงของบุคคลทั่วไป โดยมุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างภาวะสุขภาพ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดโรค เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและจัดการกับความเครียด แบบประเมินชนิดนี้นิยมใช้กันอย่างหลากหลายมาก การประเมินเน้นการส่งเสริมสุขภาพ

 การวัดความเสี่ยง (Measurement of risk) 

 การแสดงค่าความเสี่ยงโดยการเปรียบเทียบอุบัติการณ์(Incidence) ของโรคระหว่างสองกลุ่มหรือมากกว่า ว่ามีความแตกต่างของการได้รับสิ่งที่สงสัยว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือไม่ โดยพิจารณาจาก
                    1) ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น (Attributable risk) โดยพิจารณาว่า ความเสี่ยงของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ด้วยการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับปัจจัยกับกลุ่มที่ไม่ได้รับปัจจัย การคิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น โดยการใช้ค่าอุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มที่ได้รับปัจจัย ลบด้วย ค่าอุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มที่ไม่ได้รับปัจจัย ซึ่งอุบัติการณ์ในกลุ่มผู้ที่ไม่มีปัจจัย ถือว่าเป็นผลจากปัจจัยอื่น
                    2) ความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative risk) เพื่อดูว่า ผู้ที่ได้รับปัจจัยเสี่ยงมีโอกาสเกิดโรคเป็นกี่เท่าของผู้ที่ไม่ได้รับ ปัจจัย โดยการคำนวณค่า relative risk หรือ risk ratio ค่านี้ใช้บอกระดับความสัมพันธ์ (Strength of association) ระหว่างการได้รับปัจจัยกับการเกิดโรค

การประเมินภาวะเสี่ยงของชุมชน 

 การประเมินภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของชุมชนทำได้หลายระดับ ตั้งแต่ระยะที่บุคคลหรือกลุ่มในชุมชนสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง ไปจนถึงเกิดโรคแล้วและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการหรือการเสียชีวิต ข้อมูลที่จำเป็นต่อการประเมินความเสี่ยงของชุมชนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้( สมจิต แดนสีแก้ว,2545)
                    1) การรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาทางวิทยาการระบาด ได้แก่ การสำรวจภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชนโดยใช้เครื่องมือประเมินภาวะ เสี่ยงในระดับบุคคล (Health - risk appraisal)
                    2) สถิติการเจ็บป่วยและการตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ (Morbidity and mortalityrates) ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งที่ผ่านการพิสูจน์จากการวิจัย
                    3) การศึกษาวิทยาการระบาดเชิงพรรณนา (Descriptive study) ที่แสดงแบบแผนการเกิดโรคตามลักษณะของบุคคล เวลาและสถานที่ ข้อมูลการเจ็บป่วยและการตายสามารถช่วยระบุปัญหา (Identify Problem) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Identify group) หลังจากนั้นให้ประเมินความเสี่ยงระดับบุคคลที่เป็นสมาชิกของกลุ่มจะเป็นภาพ ของความเสี่ยงของทั้งกลุ่ม ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มย่อย (Subpopulation) ของชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องน่าสนใจ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...