วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การป้องกัน แนวทางปัญหา สาธารณสุขในชุมชน

ปัญหาสาธารณสุข

1. ผู้รับบริการ 
  • มีมาก   กระจาย  รับบริการได้ไม่ทั่วถึง
  • การเสียชีวิตด้วยโรคที่ป้องกันได้เพิ่มขึ้น
  • ประชาชนมีอายุยืนยาว
  • อัตราการเกิดลดลง
2. ผู้ให้บริการ
  • ไม่กระจาย 
  • ไม่ทั่วถึง
  • ไม่เพียงพอ
  • ไม่เชี่ยวชาญ ในเรื่องที่จำเป็น
  • รักษาเฉพาะด้าน  ไม่เป็นองค์รวม  
3. กระบวนการผลิตบุคลากรทางสาธารณสุข 
  • มีการผลิต บุคลากรได้ไม่ตรงสายงานด้านที่มีความต้องการในประเทศ
  • กระบวนการผลิตไม่เน้นกระบวนการ เข้าใจ เข้าถึงผู้รับบริการ
  • ผู้จบการศึกษาไม่มีความต้องการทำงานในพื้นที่ยากลำบาก
การดำเนินงานป้องกัน ควบคุม
ระดับ 1 ระดับเฉพาะตัวบุคคล
  • ฉีดวัคซีน
ระดับ 2 ระดับชุมชนในท้องถิ่น
  • ป้องกันโรคติดต่อในชุมชน  เท้าช้าง คอตีบ
ระดับ 3 ระดับชาติ
  • ไข้เลือดออก กามโรค
ระดับ 4 ระดับนานาชาติ หรือระดับโลก
  • อหิวาตกโรค  ไข้หวัดใหญ่
มาตรการป้องกันควบคุม

1.มาตรการหลัก หรือ มาตรการเฉพาะโรค
2.มาตรการรอง หรือ มาตรการสนับสนุน
มาตรการป้องกันควบคุม
ปัญหาสาธารณสุข
มาตรการหลัก
การป้องกันการเกิดโรค
การป้องกันความพิการและเสียชีวิต
อุบัติเหตุ
ให้การศึกษา
ยกระดับเศรษฐกิจและสังคม
ปฐมพยาบาลขั้นต้น
รักษาป้องกันความพิการ
โรคอุจจาระร่วงในเด็ก
ปรับปรุงสุขาภิบาล สวล. จัดหาน้ำสะอาด
กำจัดของเสีย สิ่งปฏิกูล
ยกระดับสุขวิทยาบุคคล และชุมชน
รักษาอาการขาดน้ำ เกลือแร่ทางเส้นเลือด  การกิน 
ป้องกัน รักษาโรคแทรกซ้อนและการขาดสารอาหาร
โรคคอตีบ
ฉีดวัคซีน
รักษาโดยยาปฏิชีวนะ


แนวทางแก้ปัญหา

1. การมีส่วนร่วมของชุมชน (People Participation = P.P หรือ Community Participation,
Community Involvement = C.I)
  • การเตรียมเจ้าหน้าที่
  • เตรียมชุมชน
  • การฝึกอบรม
การติดตามดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รู้สึกเป็นเจ้าของและเข้ามาร่วมช่วยเหลือ
งานด้านสาธารณสุข ทั้งด้านกำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
  • ประชาชนในชุมชนนั้นเป็นผู้ตระหนักถึงปัญหาของชุมชนของตนเป็นอย่างดี
  • เป็นผู้กำหนดปัญหาสาธารณสุขของชุมชนนั้นเอง
  • เป็นผู้วิเคราะห์ปัญหา ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน
  • ชุมชนมีความสามารถในการแยกแยะได้ว่าวิธีการแก้ปัญหาใดประชาชนในชุมชนสามารถแก้ไขได้
  • วิธีการใดอยู่นอกเหนือความสามารถของชุมชน ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคลหรือองค์กรภายนอกเข้ามาช่วยแก้ไข
  • ปัญหา
2. การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology = AT) เป็นเทคนิควิธีการที่ง่ายไม่ซับซ้อน ยุ่งยากเหมาะสมกับแต่ละสภาพท้องถิ่นและประชาชนสามารถปฏิบัติได้
เช่น
  • การทำระบบประปาด้วยปล้องไม้ไผ่ การใช้สมุนไพรในชุมชน
  • การใช้ระบบการนวดไทยเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย
3. มีการปรับระบบบริการพื้นฐานของรัฐเพื่อรองรับการสาธารณสุขมูลฐาน

(Reoriented Basic Health Service = BHS) หรือ Health Infrastructure ระบบบริการของรัฐและระบบบริหารจัดการที่มีอยู่แล้วของรัฐ จะต้องปรับให้เชื่อมต่อและรองรับงานสาธารณสุขมูลฐานด้วย
มีความมุ่งหมาย  คือ

3.1 ต้องการให้เกิดการกระจายการครอบคลุมบริการให้ทั่วไป (Coverage)

3.2 การกระจายทรัพยากรลงสู่มวลชน (Resource Mobilization)

3.3 การจัดระบบส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ (Referal System)
โครงการต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ

- โครงการบัตรสุขภาพ

- โครงการพัฒนาระบบบริการของสถานบริการและหน่วยงานสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค (พบส.)

- คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.)
  • เพื่อให้ประชาชนสามารถที่จะเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้
  • สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง
  • มีการดำเนินงานในทุกระดับ ตั้งแต่สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน  โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์
  • รวมทั้งสถานบริการเฉพาะทางต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างทั่วถึงเป็นธรรม และได้รับการส่งต่อเพื่อดูแลอย่างต่อเนื่องเมื่อมีความจำเป็น
4. การผสมผสานกับงานของกระทรวงอื่น ๆ (Intersectoral Collaboration = IC)
  • การประสานเพื่อให้หน่วยงานอื่นทำงานในความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้น ๆ
  • ส่งเสริมหรือสอดคล้องกับการพัฒนาด้านสุขภาพ
  • ไม่ใช่ขอให้บุคลากรของหน่วยงานอื่นมาร่วมกันปฏิบัติงานภาคสาธารณสุข
  • ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การประสานงานระหว่างสาขาเป็นไปอย่างได้ผล คือ
  • ความสามารถในการวิเคราะห์  ว่า การดำเนินงานเรื่องอะไร ของหน่วยงานใดจะมีส่วนในการส่งเสริมการมีสุขภาพดี
เช่น การศึกษา การเกษตร การปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมบทบาทขององค์กรชุมชน ฯลฯการประสานความร่วมมือ  
ต้องดำเนินการในหลายระดับ แต่ที่สำคัญนั้นหากสามารถสร้างให้เกิดความร่วมมือ
เพื่อแก้ปัญหาในชุมชนเป็นหลัก โดยให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดหรือตัดสินใจ ก็จะช่วยให้ความร่วมมือนั้นชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
การจัดทำยุทธศาสตร์

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10  ได้กำหนดขั้นตอนในการดำเนินงาน จำนวน 2 ขั้นตอน คือ
1.การวิเคราะห์สถานการณ์
2.การกำหนดยุทธศาสตร์
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์

การวิเคราะห์สถานการณ์ ดำเนินการใน 2 ส่วน คือ
1.การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
2.การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมองค์กรโดยใช้เทคนิค SWOT
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

ใช้เทคนิคในการวิเคราะห์และจัดลำดับของปัญหาตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข โดยการให้น้ำหนักคะแนน ใน 4 ประเด็น คือ
  • ขนาดของปัญหา
  • ความรุนแรงของปัญหา
  • ความยากง่ายในการแก้ปัญหา
  • ความยอมรับในการแก้ปัญหาของประชาชน
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมขององค์กร

  • การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมขององค์กรโดยเทคนิค (SWOT)
  • โดย ปัจจัยภายในใช้ทฤษฎี  7’s  และปัจจัยภายนอกใช้ทฤษฎี  PEST ของการพัฒนาระบบสุขภาพ  สามารถสรุปได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดยุทธศาสตร์
(Making Strategy)
  1.  ยุทธศาสตร์ คือ แผนการปฏิบัติที่จัดระเบียบความพยายามต่างๆ เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ (Objectves)
ยุทธศาสตร์ เป็น กรรมวิธีการแสวงข้อตกลงใจที่ซับซ้อน (complex decisionmaking process) ที่ เชี่อมโยง
จุดหมายปลายทาง (ends) ที่ต้องการวัตถุประสงค์ (objectives) ด้วยหนทาง (ways) และเครื่องมือ (means)
เพื่อให้บรรลุ จุดหมายปลายทาง (ends)
  • วิสัยทัศน์
  • ประเด็นยุทธศาสตร์
  • เป้าประสงค์
  • ตัวชี้วัด
  • ค่าเป้าหมาย
  • กลยุทธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องน่าสนใจ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...