วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม

ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม

การใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายหลายประการ ดังนี้

๑. เด็กถูกทำร้าย  การทำร้ายเด็กแบ่งได้เป็น ๔ประการคือ
      ๑.๑ การทำร้ายร่างกาย มีทั้งบุคคลในครอบครัวและบุคคลภายนอก ที่ทำร้ายเด็ก
      ๑.๒   การทำร้ายจิตใจ อาจเกิดจากทั้งบุคคลในครอบครัว และ บุคคลภายนอก เช่นการใช้คำพูดดุด่า ดู  ถูกเหยียดหยาม   ขู่เข็ญ   กักขัง   ควบคุม          ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นสิ่ง   ที่ไม่เหมาะ
      ๑.๓ การล่วงเกินทางเพศ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กหญิง   มีทั้งบุคคลในครอบครัวและบุคคลภายนอก ที่ทำร้ายเด็ก
      ๑.๔   การ ทอดทิ้ง คือการขาดความรับผิดชอบที่จะดูแลเด็ก ผลักความรับผิดชอบให้เป็นหน้าที่ของผู้อื่น ส่วนใหญ่เกิดจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

๒.การทำร้ายภรรยาหรือสามี  เป็นการกระทำที่รุนแรงต่อคู่สมรสของตนเอง ส่วนใหญ่พบว่าสามีมักกระทำต่อภรรยาของตนเอง  อาจทำร้ายทางจิตใจด้วยการด่า บังคับ ขู่เข็ญ  ไม่เลี้ยงดูและการทำร้ายร่างกายด้วยการตบ ตี ชกต่อย เตะ หรือใช้สิ่งของซึ่งเป็นอาวุธทำร้ายจนเกิดการบาดเจ็บหรือจนถึงขั้นเสียชีวิต

๓. การหย่าร้าง  สามีภรรยาที่ใช้ความรุนแรงต่อกัน อาจเกิดการหย่าร้างกันได้

๔. การทำร้ายผู้สูงอายุ เป็นการทำร้ายโดยตรงทางร่างกายจิตใจ ตลอดจนการทอดทิ้งไม่สนใจเรื่องความเป็นอยู่หรือปล่อยให้อยู่เองตามยถากรรม ซึ่งมักพบในสังคมปัจจุบัน
๕. การทำร้ายกันระหว่างบุคคล เป็นความรุนแรงที่พบมากที่สุด เช่น การทะเลาะเบาะแว้งแล้วทำร้ายกัน ในบางกรณี
๖. เด็กเร่ร่อน เด็กบางคนถูกกระทำความรุ่นแรงจากครอบครัวอาจหนีออกจากบ้านกลายเป็นเด็กเร่ร่อน
๗. อาชญากรรม การกระทำความรุนแรงในสังคมหลายอย่างเป็นอาชญากรรม เช่น การปล้น จี้ ฆ่า ทำร้ายร่างกายกัน การฉุดคร่า ข่มขืน
๘. ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ  เมื่อเกิดการบาดเจ็บต้องรักษาพยาบาล  โดย มีค่าใช้จ่ายบางรายอาจทำงานไม่ได้ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง และ หากเสียชีวิตก็เป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคคลซึ่งถ้าอยู่ในวัยทำงานมีรายได้ก็ ทำหมดโอกาส

แนวทางป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม

 

๑ ปลูกฝังความรักและความเข้าใจกันในครอบครัว  พูดจากันด้วยเหตุผล  เห็นใจผู้อื่นอ่อนแอกว่า  ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน
๒ หลีกเลื่องปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความรุ่นแรง  เช่น  การดื่มสุรา  การคบชู้  เล่นการพนัน การทะเลาะเบาะแว้งมีเรื่องกันปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดความรุ่นแรงได้                                                            
                                          ความขัดแย้งแก้ไขได้ถ้าเข้าใจกัน. ความขัดแย้งเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้
๓  จัดการกับอารมณ์และความเครียด เพราะเมื่อเกิดอารมณ์ไม่ดีอาจก่อให้เกิดการใช้ความรุ่นแรง

๔  มีค่านิยมที่ถูกต้อง เช่น ผู้ชายไม่ถืออำนาจและทำรุ่นแรงกับผู้หญิง  ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร รู้จักใช้ถุงยางอนามัย และไม่ก่อคดีข่มขืน

 ๕  เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องให้ความร่วมมือ  โดยควบคุมและป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด

เมื่อเกิดความรุนแรงในครอบครัว และสังคม  ควรปฏิบัติดังนี้
                                             เข้าพูดคุยกันอย่างมีสติ
๑ พาผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาจากแพทย์
๒ พาผู้ป่วยไปพบจิตแพทย์ ถ้าเป็นความกระทบกระเทือนทางจิตใจ เช่น ถูกข่มขืน ถูกทำร่างกายจนเสียขวัญ ถูกขู่อาฆาต ถูกหน่วงเหนียวใจกักขังจนเป็นเหตุให้เสียสุขภาพจิตควรไปพบแพทย์
๓  พาผู้ที่ชอบใช้ความรุนแรงไปพบจิตแพทย์ เพื่อตรวยสอบความผิดปกติของเขาว่ามีความผิดปกติทางจิตหรือไม่
๔  ควร มีการไกล่เกลี่ยประนีประนอมกัน เช่น ให้ทั้งสองฝ่ายปรึกษากับคนที่ตนนับถือ หรือ พบเจ้าหน้าที่ตำรวจ แม้ว่าจะมีปัญหาความรุนแรงเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีก
๕  แจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ก่อความรุนแรง  เพื่อให้เข็ดหลาบ จะได้ไม่ก่อความรุนแรงซ้ำอีก


ความคิดเห็น

 

 



1 ความคิดเห็น:

เรื่องน่าสนใจ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...