วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

การปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

 การปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

 

 

การช่วยผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุจราจร
การปฐมพยาบาลจะช่วยลดภาวะเสี่ยงอันตรายของผู้ประสบอุบัติเหตุ ทั้งนี้การช่วยเหลือจะต้องทำอย่างถูกขั้นตอนตามหลักการแพทย์ มิเช่นนั้นผู้บาดเจ็บจะได้รับอันตรายจากการปฐมพยาบาลแทนที่จะปลอดภัย ก่อนที่จะเริ่มการปฐมพยาบาลควรตรวจรอบบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ ทำการเก็บศพถ้ามีผู้เสียชีวิต ช่วยเหลือผู้ที่ได้ประสบอุบัติเหตุ จนนำส่งโรงพยาบาล และดำเนินการช่วยเหลือถึงที่สุดความสามารถ

หลักการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือต่อผู้บาดเจ็บหรือผู้เจ็บป่วย ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่หาได้ขณะนั้น หลังจากนั้นส่งผู้บาดเจ็บให้อยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์

วัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล
1. เพื่อช่วยชีวิต
2. ลดความรุนแรง ภาวะไม่พึงประสงค์
3. เพื่อป้องกันความพิการ
4. บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน
5. ช่วยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
เริ่มต้นปฐมพยาบาล

หลักการทั่วไปสำหรับการช่วยเหลือปฐมพยาบาล คือจำเป็นจะต้องกระทำโดยเร็วที่สุด และมีสิ่งพึงระวังถึงบุคคล 2 กลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่มผู้ช่วยเหลือ
บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์อุบัติเหตุขณะนั้นส่วนมากแล้วจะเป็นผู้ช่วยเหลือ จึงควรมีหลักการช่วยเหลือ คือมองดู สำรวจระบบสำคัญของร่างกายอย่างรวดเร็ว และวางแผนช่วยเหลืออย่างมีสติ ไม่ตื่นเต้นตกใจ
ห้ามเคลื่อนย้าย
เมื่อ อวัยวะต่างๆ บาดเจ็บ ร่างกายได้รับความกระกระเทือน อาจมีการฉีกขาด หัก มีเลือดออกทั้งภายในและภายนอก ซึ่งผู้ช่วยเหลืออาจมองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ได้ การเคลื่อนย้ายทันทีอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บมากขึ้น โดยเฉพาะถ้ากระดูกสันหลังหัก กระดูกที่หักจะตัดไขสันหลัง จะทำให้ผู้บาดเจ็บพิการตลอดชีวิตได้
ดังนั้นไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจนกว่าจะแน่ใจว่า เคลื่อนย้ายได้
ข้อยกเว้น
กรณีที่การบาดเจ็บเกิดขึ้นในสถานที่ที่ไม่สะดวกต่อการปฐมพยาบาล หรืออาจเกิดอันตรายมากขึ้นทั้งผู้บาดเจ็บและผู้ช่วยเหลือ จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไปที่ปลอดภัยก่อน จึงทำการปฐมพยาบาลได้ เช่น อยู่ในห้องทึบ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก อยู่ในน้ำ หรืออยู่ในกองไฟ เป็นต้น แต่ต้องเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะบริเวณศีรษะ คอ และหลัง

ต้องระวัง
การให้ความช่วยเหลือด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวัง ควรให้ความช่วยเหลือตามลำดับความสำคัญของการมีชีวิต หรือตามความรุนแรงที่ผู้บาดเจ็บได้รับ

2. กลุ่มผู้บาดเจ็บ
ผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ต่างๆ อันตรายที่ร่างกายได้รับ เรียงตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
1.หยุดหายใจ
2.ทางเดินหายใจอุดตัน หัวใจหยุดเต้น
3.เสียโลหิตจำนวนมากอย่างรวดเร็ว
4.หมดสติ
5.เจ็บปวด
6.อัมพาต
7.กระดูกหัก

ข้อควรจำ
การปฐมพยาบาลที่ดี ผู้ช่วยเหลือควรให้การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว นุ่มนวล และต้องคำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้บาดเจ็บ ควรได้รับการปลอบประโลม และให้กำลังใจเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะได้รับการช่วยเหลืออย่างปลอดภัย
ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บ
เมื่ออุบัติเหตุจราจรเกิดขึ้น เหตุการณ์ดังกล่าวจะประกอบได้ด้วยสถานการณ์ที่อันตรายและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้ที่ให้การช่วยเหลือต้องตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์นั้น จะทำให้การช่วยเหลือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าหากผู้ช่วยเหลือไม่ตระหนักถึงอันตรายของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว อาจได้รับอันตรายทั้งผู้ช่วยเหลือและผู้บาดเจ็บ การไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินสภาพผู้บาดเจ็บก่อนให้การปฐมพยาบาล อาจก่อให้เกิดผลเสียและทำให้ผู้บาดเจ็บได้รับอันตรายมากยิ่งขึ้นได้
4.สำรวจผู้บาดเจ็บขั้นที่ 2
ถ้าพบว่าผู้บาดเจ็บมีอาการรุนแรงสาหัส ไม่ต้องสำรวจขั้นที่ 2 แล้ว ให้เรียกรถพยาบาลและทำการปฐมพยาบาลอาการที่รุนแรงทันที
สัมภาษณ์ผู้บาดเจ็บ
ถามคำถามง่ายๆ ใช้เวลาไม่นาน บางครั้งผู้บาดเจ็บไม่สามารถอธิบาย หรือแยกแยะข้อมูลได้ เช่น ผู้บาดเจ็บที่เป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่หมดสติชั่วขณะหนึ่ง ให้ใช้การพิจารณาตัดสินใจเอง และสังเกตการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
-ชื่อ นามสกุล
-เกิดอะไรขึ้น
-เจ็บปวดบริเวณใด
-ต้องการให้ช่วยอะไร


ตรวจการหายใจ
สังเกตว่ามีการหายใจที่ผิดปกติหรือไม่ เช่น หอบ หายใจมีเสียงผิดปกติ หายใจเร็วหรือช้ากว่าปกติ แล้วรู้สึกเจ็บ
-หอบหรือไม่
-หายใจเร็วหรือช้า
-หายใจเจ็บหรือไม่


ตรวจร่างกายตลอดศีรษะจรดเท้า

เพื่อให้ได้ข้อมูลบาดเจ็บครบถ้วน ควรตรวจร่างกายตั้งแต่ ศีรษะ ใบหน้า ลำคอ ไหล่ แขน 2 ข้าง ทรวงอก สะโพก ขาทั้ง 2 ข้าง และเท้าตามลำดับ
ถ้าผู้บาดเจ็บเคลื่อนไหวได้ ไม่มีอาการบาดเจ็บ และไม่มีลักษณะการบาดเจ็บให้เห็น ควรพักประมาณ 2 -3 นาที แล้วเริ่มนั่งตรวจสิ่งผิดปกติเป็นระยะ ซึ่งถ้าไม่มีอาการเลวลงผู้บาดเจ็บค่อยๆ ลุกขึ้นยืน
-บอกให้ผู้บาดเจ็บหายใจเข้า - ออก ลึกๆ ช้าๆ
-ถามถึงความรู้สึกเจ็บปวด บริเวณช่องอกและช่องท้อง
ขั้นตอนการช่วยเหลือ

1.สำรวจสถานการณ์
ต้องประเมินว่าสถานการณ์นั้นปลอดภัยพอที่จะเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บ ถ้าไม่ปลอดภัยควรขอความช่วยเหลือจากหน่วยกู้ภัยต่างๆ โดยเร็ว และไม่ควรเข้าไปใกล้สถานการณ์ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ช่วยเหลือได้

2.สำรวจผู้บาดเจ็บขั้นที่ 1
เมื่อแน่ใจว่าสถานการณ์ปลอดภัยแล้วรีบทำการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทันที ถ้ามีผู้บาดเจ็บหลายคนต้องทำการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่มีอาการสาหัสก่อน ได้แก่
หมดความรู้สึก
ถ้าไม่รู้สึกตัวหรือหมดสติต้องระวังทางเดินหายใจอุดตัน ล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออก เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
ระบบหายใจ
สังเกตดูการเคลื่อนไหวขึ้นลงของทรวงอกฟังเสียงลมหายใจ และให้แก้มสัมผัสลมหายใจที่เป่าออกมา ปกติผู้ใหญ่หายใจประมาณ 12 -20 ครั้งต่อนาที
การเต้นของหัวใจ
ใช้นิ้วมือแตะที่เส้นเลือดแดงบริเวณข้างลำคอ การเต้นของหัวใจของวัยผู้ใหญ่ประมาณ 60 - 90 ครั้งต่อนาที
เสียเลือด
ปริมาณเลือดที่ออกจากบาดแผลและจากอาการแสดงของผู้บาดเจ็บ

3.ขอความช่วยเหลือ

ผู้บาดเจ็บที่จำเป็นค่าสินไหมทดแทน ควรเรียกพยาบาลมาช่วยควรให้ข้อมูลที่จำเป็น เพื่อการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ
สถานที่เกิดเหตุ สถานที่ใก้ลเคียง หรือจุดสังเกตุเห็นได้ง่าย
สถานการณ์
จำนวนผู้บาดเจ็บ
อาการผู้บาดเจ็บที่ประเมินได้ 


ที่มา: http://www.nmt.ac.th/product/web/1/t3.html


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวิธีพยุงเดิน
   การเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธีมีความสำคัญมาก ถ้าผู้ช่วยเหลือมีประสบการณ์ มีความรู้ ความเข้าใจ มีหลักการและรู้จักวิธีการเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธี จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีชีวิตรอด ปลอดภัย ลดความพิการ หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้

1. การเคลื่อนย้ายโดยผู้ช่วยเหลือคนเดียว
     วิธีที่ 1 พยุงเดิน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี แต่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งเจ็บ (เฉพาะส่วนล่าง)
     วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือยืนเคียงข้างผู้ป่วย หันหน้าไปทางเดียวกัน แขนข้างหนึ่งของผู้ป่วยพาดคอ ผู้ช่วยเหลือจับมือผู้ป่วยไว้ ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งของผู้ช่วยเหลือโอบเอวและพยุงเดิน




ภาพที่ 28 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวิธีพยุงเดิน

     วิธีที่ 2 การอุ้ม วิธีนี้ใช้กับผู้บาดเจ็บที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือในเด็กซึ่งไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักโดยการช้อนใต้เข่าและประคองด้านหลัง หรืออุ้มทาบหลังก็ได้



การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้ม



ภาพที่ 29 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้ม

     วิธีที่ 3 วิธีลาก เหมาะที่จะใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดไฟไหม้ ถังแก็สระเบิด หรือตึกถล่ม จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด อาจปฏิบัติได้หลายวิธี
     ผู้ช่วยเหลืออาจะจะลากโดยใช้มือสอดใต้รักแร้ลากถอยหลัง หรือจับข้อเท้าลากถอยหลังก็ได้ ไม่ควรลากไปด้านข้างของผู้บาดเจ็บ ต้องระวังไม่ให้ส่วนของร่างกายโค้งงอ โดยเฉพาะส่วนของคอและลำตัว การลากจะลดอันตรายลงถ้าใช้ผ้าห่มหรือเสื่อ หรือ แผ่นกระดานรองลำตัวผู้บาดเจ็บ


การลาก


ภาพที่ 30 การลาก



2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสองคน
     วิธีที่ 1 อุ้มและยก เหมาะสำหรับผู้ป่วยรายในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บของลำตัว หรือกระดูกหัก

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มและยก

ภาพที่ 31 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มและยก

     วิธีที่ 2 นั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ขาเจ็บแต่รู้สึกดีและสามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้
     วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้มือขวากำข้อมือซ้ายของตนเอง ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายกำมือขวาซึ่งกันและกัน ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองยันตัวขึ้นนั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ แขนทั้งสองของผู้ป่วยโอบคอผู้ช่วยเหลือ จากนั้นวางผู้ป่วยบนเข่าเป็นจังหวะที่หนึ่ง และอุ้มยืนเป็นจังหวะที่สอง แล้วจึงเดินไปพร้อมๆ กัน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีนั่งบนมือทั้งสี่ที่ประสานกันเป็นแคร่

ภาพที่ 32 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีนั่งบนมือทั้งสี่ที่ประสานกันเป็นแคร่

     วิธีที่ 3 การพยุงเดิน วิธีนี้ใช้ในรายที่ไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักและผู้บาดเจ็บยังรู้สึกตัวดี

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีพยุงเดิน

ภาพที่ 33 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีพยุงเดิน

3. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสามคน
     วิธีที่ 1 อุ้มสามคนเรียง เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว ต้องการอุ้มขึ้นวางบนเตียงหรืออุ้มผ่านทางแคบๆ
     วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคนคุกเข่าเรียงกันในท่าคุกเข่าข้างเดียว ทุกคนสอดมือเข้าใต้ตัวผู้ป่วย และอุ้มพยุงไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังนี้
          คนที่ 1 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณคอและหลังส่วนบน
          คนที่ 2 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณหลังส่วนล่างและก้น
          คนที่ 3 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ขา
          ผู้ช่วยเหลือคนที่อ่อนแอที่สุดควรเป็นคนที่ 3 เพราะรับน้ำหนักน้อยที่สุด เมื่อจะยกผู้ป่วยผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องทำงานพร้อมๆ กัน โดยให้คนใดคนหนึ่งเป็นออกคำสั่ง ขั้นแรก ยกผู้ป่วยพร้อมกันและวางบนเข่า จากท่านี้เหมาะสำหรับจะยกผู้ป่วยขึ้นวางบนเปลฉุกเฉินหรือบนเตียง แต่ถ้าจะอุ้มเคลื่อนที่ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องประคองตัวผู้ป่วยในท่านอนตะแคง และอุ้มยืน เมื่อจะเดินจะก้าวเดินไปทางด้านข้างพร้อมๆ กัน และถ้าจะวาง ผู้ป่วยให้ทำเหมือนเดิมทุกประการ คือ คุกเข่าลงก่อนและค่อย ๆ วางผู้ป่วยลง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มสามคนเรียง

ภาพที่ 34 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มสามคนเรียง

     วิธีที่ 2 การใช้คน 3 คน วิธีนี้ใช้ในรายที่ผู้บาดเจ็บนอนหงาย หรือ นอนคว่ำก็ได้ ให้คางของผู้บาดเจ็บยกสูงเพื่อเปิดทางเดินหายใจ
     1. ผู้ปฐมพยาบาล 2 คนคุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งผู้ปฐมพยาบาลอีก 1 คน คุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บ
     2. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 1 ประคองที่ศีรษะและไหล่ผู้บาดเจ็บ มืออีกข้างหนึ่งรองส่วนหลังผู้บาดเจ็บ
     3. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 2 อยู่ตรงข้ามคนที่ 1 ใช้แขนข้างหนึ่งรองหลังผู้บาดเจ็บ เอามือไปจับมือคนที่ 1 อีกมือหนึ่งรองใต้สะโพกผู้บาดเจ็บ
     4. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 3 มือหนึ่งอยู่ใต้ต้นขาเหนือมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพก แล้วเอามือไปจับกับมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพกนั้น ส่วนมืออีกข้างหนึ่งรองที่ขาใต้เข่า
     5. มือคนที่ 1 และคนที่ 2 ควรจับกันอยู่ระหว่างกึ่งกลางลำตัวส่วนบนของผู้บาดเจ็บ ผู้ปฐมพยาบาลจะต้องให้สัญญาณลุกขึ้นยืนพร้อม ๆ กัน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีใช้คน 3 คน

ภาพที่ 35 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีใช้คน 3 คน



การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ผ้าห่ม
     ใช้กรณีที่ไม่มีเปลหามแต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณหลัง
     วิธีเคลื่อนย้าย พับผ้าห่มตามยาวทบกันเป็นชั้น ๆ 2-3 ทบ โดยวิธีการพับผ้าห่มพับเช่นเดียวกับการพับกระดาษทำพัด วางผ้าห่มขนาบชิดตัวผู้ป่วยทางด้านข้าง ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าลงข้างตัวผู้ป่วยอีกข้างหนึ่ง จับผู้ป่วยตะแคงตัวเพื่อให้นอนบนผ้าห่ม แล้วดึงชายผ้าห่มทั้งสองข้างออก เสร็จแล้วจึงม้วนเข้าหากัน จากนั้นช่วยกันยกตัวผู้ป่วยขึ้น ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งต้องประคองศีรษะผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สงสัยว่า ได้รับบาดเจ็บที่คอหรือหลัง


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ผ้าห่ม

ภาพที่ 36 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ผ้าห่ม

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม
เปลหรือแคร่มีประโยชน์ในการเคลือนย้ายผู้ป่วย อาจทำได้ง่ายโดยดัดแปลงวัสดุ การใช้เปลหามจะสะดวกมากแต่ยุ่งยากบ้างขณะที่จะอุ้มผู้ป่วยวางบนเปลหรืออุ้ม ออกจากเปล

วิธีการเคลื่อนย้าย
เริ่มต้นด้วยการอุ้มผู้ป่วยนอนราบบนเปล จากนั้นควรให้ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งเป็นคนออกคำสั่งให้ยกและหามเดิน พื่อความพร้อมเพรียงและนุ่มนวล ถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคน คนหนึ่งหามทางด้านศีรษะ อีกคนหามทางด้านปลายเท้าและหันหน้าไปทางเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าผู้ช่วยเหลือที่หามทางด้านปลายเท้าจะเดินนำหน้า หากมีผู้ช่วยเหลือ 4 คน ช่วยหาม อีก 2 คน จะช่วยหามทางด้านข้างของเปลและหันหน้าเดินไปทางเดียวกัน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม

ภาพที่ 37 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม

วัสดุที่นำมาดัดแปลงทำเปลหาม
     1. บานประตูไม้
     2. ผ้าห่มและไม้ยาวสองอัน วิธีทำเปลผ้าห่ม ปูผ้าห่มลงบนพื้น ใช้ไม้ยาวสองอัน ยาวประมาณ 2.20 เมตร
          - อันที่ 1 สอดในผ้าห่มที่ได้พับไว้แล้ว
          - อันที่ 2 วางบนผ้าห่ม โดยให้ห่างจากอันที่ 1 ประมาณ 60 ซม. จากนั้นพับชายผ้าห่มทับไม้อันที่ 2 และอันที่ 1 ตามลำดับ

การใช้ผ้าห่มมาดัดแปลงทำเปลหามผู้ป่วย

ภาพที่ 38 การใช้ผ้าห่มมาดัดแปลงทำเปลหามผู้ป่วย

     3. เสื้อและไม้ยาว 2 อัน
          นำเสื้อที่มีขนาดใหญ่พอๆกันมาสามตัว ติดกระดุมให้เรียบร้อย ถ้าไม่แน่ใจว่ากระดุมจะแน่นพอให้ใช้เข็มกลัดซ่อนปลายช่วยด้วย แล้วสอดไม้สองอันเข้าไปในแขนเสื้อ

การใช้เสื้อมาดัดแปลงทำเปลหามผู้ป่วย

ภาพที่ 39 การใช้เสื้อมาดัดแปลงทำเปลหามผู้ป่วย
ที่มา: http://www.nurse.nu.ac.th/web11/cai/firstaid024_3.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องน่าสนใจ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...