วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หลักการใช้ยาและประเภทของยา

ความหมายของยา ยา เป็นสารเคมีที่เข้าไปในร่างกาย   เพื่อการวินิจฉัย เพื่อการบำบัดรักษา เพื่อการบรรเทาอาการ หรือเพื่อป้องกันโรค คำว่า drug และ medication หมายถึง ยา แต่ใช้ในความหมายต่างกัน drug คือ ยาที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงานของร่างกาย โดยมีผลต่อศักยภาพของร่างกาย เช่น เฮโรอีน โคเคน ส่วน medication เป็นยาที่ใช้เพื่อผลทางการรักษา อาจกล่าวได้ว่า ยาที่ใช้ในการรักษาทุกชนิด คือยา แต่ยาทุกชนิดอาจไม่ได้ใข้เพื่อการรักษา การใช้ยาให้ได้ผลดีและปลอดภัย พยาบาลผู้มีหน้าที่ให้ยาหรืผู้ใช้ยาต้องมีความรู้เกี่ยวกับยาและการใช้ยา เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้ยาที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ได้รับยาและพยาบาลผู้ รับยาอาจได้รับโทษ 

http://student.mahidol.ac.th/~u4909269/page3.htm

ประเภทของยา อาจแบ่งตามชนิดที่มีลักษณะหรือข้อกำหนดต่าง ๆ เช่นแบ่งตามการผลิตยา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
 
 1. ยาสำเร็จรูป ได้แก่ ยาที่บริษัทต่าง ๆ ได้ผลิตขึ้นและจดทะเบียนไว้กับทางราชการ ยาพวกนี้มีลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น ยาเม็ด ยาน้ำ หรือยาฉีด เป็นการสะดวกแก่แพทย์ที่จะสั่งใช้

 2. ยาผสม คือ ยาที่แพทย์สั่งให้เภสัชกรผสม โดยมากสั่งให้เฉพาะบุคคลการผสมยาพวกนี้มีตามโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลใหญ่ ๆ ที่มีเภสัชกรปฏิบัติงานเป็นประจำ

 แบ่งตาม พ.ร.บ. ควบคุมยา ซึ่งแบ่งย่อยออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

 1. ยาสามัญประจำบ้านหรือยาแผนปัจจุบัน เป็นยาที่ประชาชนทั่วไปหาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ มักใช้กับโรคที่ไม่รุนแรงมากนัก ไม่จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจ เช่น ปวดศีรษะ ท้องอืด เป็นต้น แต่หากอาการเหล่านี้ไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์

 2. ยาอันตราย เป็นยาสำเร็จรูปที่ใช้ในการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยมีตัวยาหลายชนิด แต่ละชนิดมีทั้งคุณและโทษ การใช้ต้องระมัดระวังรอบคอบ เพราะจะทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้เสมอ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้เป็นยาอันตราย เช่น ยาปฏิชีวนะ

 3. ยาควบคุมพิเศษ หมายถึง ยาที่มีอันตรายมาก ฤทธิ์ของยาที่สำคัญและร้ายแรงมากบางชนิด เป็นยาเสพติดให้โทษ ถ้ากินเข้าไปนานจะเกิดการติดยา เช่น ยานอนหลับประเภทต่าง ๆ ยาระงับประสาท หรือยากล่อมประสาทบางชนิด



ยาอันตรายที่ควรทราบ คือ ยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นยาที่ได้จากเชื้อราหรือแบคทีเรียบางชนิด ที่สามารถหยุดยั้งการเจริญและทำลายแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์อื่น ๆ โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อของยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบหรือยาแก้หนอง ยาปฏิชีวนะ เป็นยาที่เพิ่งจะเริ่มใช้กันอย่างกว้างขวางเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันยาประเภทนี้ได้ทวีความสำคัญขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และนิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากยาปฏิชีวนะสามารถรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับแบคทีเรียได้มากมายและมีประสิทธิภาพ บางขนานยังใช้รักษาโรคที่เกิดขึ้นกับเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ อีก เช่น เชื้อบิด เชื้อรา และไวรัสและยังใช้รักษาโรคมะเร็งบางชนิดได้ด้วย การใช้ยาปฏิชีวนะจำเป็นต้องศึกษาชนิดของเชื้อโรคให้แน่เสียก่อน ยาอย่างไหน ขนาดใด จึงจะเหมาะกับชนิดของเชื้อโรคนั้น เป็นเรื่องของแพทย์โดยเฉพาะไม่สมควรที่จะหายาเหล่านี้มารักษาเองเป็นอันขาด

 หลักกว้าง ๆ ในการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ คือ เลือกใช้ยาปฏิชีวนะให้ถูกกับชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นต้นเหตุของโรคนั้น ๆ ใช้ยาปฏิชีวนะในขนาดสูงพอที่จะทำลายเชื้อ ระยะเวลาที่ให้ยาปฏิชีวนะ ควรจะนานพอที่จะทำลายเชื้อได้หมด โดยทั่วไป ยาปฏิชีวนะที่นำมาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อเป็นยาที่มีพิษน้อยแต่พิษของมันอาจจะเกิดรุนแรงขึ้นถ้านำไปใช้อย่างผิด ๆ

 อันตรายที่เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยที่แพ้ยานั้น อาจเกิดผื่นขึ้นหรือถึงกับช็อคตายหรืออาจเกิดจากพิษของยาโดยตรง เช่น ยาบางอย่างเป็นพิษต่อไต นอกจากนี้ยาปฏิชีวนะยังมีผลทางอ้อม ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนหรือซ้ำเติมได้ พวกนี้มักเกิดในรายที่ใช้ยาออกฤทธิ์กว้าง ยาจะไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกายตายหมด เหลือแต่ตัวที่ดื้อยาเท่านั้น อาการที่พบบ่อย คือ อาการท้องเดินหรือราขึ้นในปาก อาการที่รุนแรง คือ ตาย ซึ่งพบได้บ่อย ยาปฏิชีวนะที่ผู้ป่วยซื้อใช้กันเองมาก คือ ยากลุ่มเตตร้าซัยคลิน ซึ่งเป็นพิษต่อตับ ทำให้เกิดท้องเดิน เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ

 ไม่ควรใช้ จะทำให้ฟันเหลืองและผุได้ง่ายและกระดูกที่กำลังสร้างกร่อนไปและยาคลอแรมเฟนิคอล จะลดไขกระดูก ทำให้มีอาการซีด เลือดออกตามตัว เม็ดเลือดขาวลดลง เกิดการติดเชื้อง่าย รองลงมาคือ ยากลุ่มสเตร็ปโตมัยซิน ซึ่งยานี้ให้โดยการฉีด ปัจจุบันมีประโยชน์น้อยมาก เชื้อส่วนใหญ่ดื้อต่อยานี้ มีใช้มากในพวกที่เป็นวัณโรค ยากลุ่มเพนิซิลิน หากแพ้ยานี้จะเกิดผื่นขึ้นตามตัวหรือมีไข้ มีอาการซีด อาจรุนแรงถึงช็อคได้ หากเก็บไว้ในที่ร้อนจะทำให้ยาเปลี่ยนไปเป็นสารที่ทำให้แพ้ง่ายขึ้น
 การจ่ายยาของแพทย์และพยาบาลประจำโรงงานนั้นควรให้คำแนะนำว่า ยาปฏิชีวนะมีทั้งคุณและโทษ โรคส่วนใหญ่อาจหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ยานี้ไม่ใช่ยาลดไข้ ไม่ควรใช้โดยไม่จำเป็น อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือเป็นพิษต่อร่างกาย การใช้ยาโดยไม่ถูกวิธีหรือไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะทำให้เป็นโรคเรื้อรังและเชื้อเกิดการดื้อยา เป็นอันตรายต่อสังคมและตนเอง การใช้ยาปฏิชีวนะไม่ควรซื้อกินเอง ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง

http://www.oknation.net/blog/nursingcareers/2012/06/17/entry-3

วิธีการใช้


รับประทานก่อนอาหาร โดยทั่วไปหมายความว่าก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงเพื่อให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต
ได้ดี หากรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีจะทำให้การดูดซึมของยาลดลงมาก หากลืมรับประทานก่อนอาหารให้รับประทาน
หลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สำหรับยาที่ออกฤทธิ์ไปเพิ่มการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งใช้รักษาอาการคลื่นไส้
อาเจียน ให้รับประทานก่อนอาหารเพื่อที่จะได้ออกฤทธิ์ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เมื่อรับประทานอาหารลงไปได้ทัน
          รับประทานหลังอาหาร โดยทั่วไปหมายความว่าหลังอาหารอย่างน้อย 15 นาที ยาที่ให้รับประทานหลังอาหารนี้ ส่วนมากเป็น
ยาทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่รบกวนต่อการดูดซึมของยาและอาจเพิ่มการดูดซึมของยาบางชนิดได้ หรือเป็นยาที่ถึงแม้จะถูกดูดซึมได้ดีในขณะ
ท้องว่าแต่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารมาก
          รับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที ยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารมัก
ทำให้คลื่นไส้ อาเจียนเมื่อรับประทานขณะท้องว่าง หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เป็นผลหรือจนถึงขั้นเป็นแผล
ทะลุได้ ดังนั้นจึงต้องมีอาหารหรือน้ำช่วยทำให้เจือจาง ยาดังกล่าวได้แก่ ยาแก้ปวดข้อต่าง ๆ ยาแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
          รับประทานก่อนนอน หมายความว่าให้รับประทานก่อนนอนตอนกลางคืนวันละ 1 ครั้ง เท่านั้น
วิธีละลายยาผงแห้งปฏิชีวนะ
1. หากต้องใช้ยามากกว่า 1 ขวด ให้ละลายยาทีละขวด
2. เคาะผงยาในขวดให้ร่วน
3. ใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้วหรือน้ำดื่มที่สะอาดละลายยา ห้ามให้น้ำร้อนหรือน้ำอุ่น
4. เปิดฝาขวดยา เติมน้ำลงในขวดยาประมาณครึ่งขวด ปิดฝาขวด เขย่าให้ผงยาเปียกทั่วและกระจาย ไม่จับเป็นก้อน
5. เปิดฝาขวดยาอีกครั้ง เติมน้ำลงในขวดจนถึงขีดที่กำหนดไว้บนขวดยาหรือขีดบอกบนฉลากยา
6. ปิดฝาขวดยา เขย่าให้ยากระจายเข้ากันดี
7. ก่อนรินยา ต้องเขย่าขวดก่อนทุกครั้ง ยาที่ผสมแล้วมีอายุการใช้ไม่เกิน 7 วัน และเก็บยาไว้ในที่เย็นหรือในตู้เย็น
ช่องธรรมดา
ที่มาจาก:http://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-53%28500%29/page1-1-53%28500%29.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องน่าสนใจ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...