วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

การปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

 การปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

 

 

การช่วยผู้บาดเจ็บอุบัติเหตุจราจร
การปฐมพยาบาลจะช่วยลดภาวะเสี่ยงอันตรายของผู้ประสบอุบัติเหตุ ทั้งนี้การช่วยเหลือจะต้องทำอย่างถูกขั้นตอนตามหลักการแพทย์ มิเช่นนั้นผู้บาดเจ็บจะได้รับอันตรายจากการปฐมพยาบาลแทนที่จะปลอดภัย ก่อนที่จะเริ่มการปฐมพยาบาลควรตรวจรอบบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ ทำการเก็บศพถ้ามีผู้เสียชีวิต ช่วยเหลือผู้ที่ได้ประสบอุบัติเหตุ จนนำส่งโรงพยาบาล และดำเนินการช่วยเหลือถึงที่สุดความสามารถ

หลักการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือต่อผู้บาดเจ็บหรือผู้เจ็บป่วย ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่หาได้ขณะนั้น หลังจากนั้นส่งผู้บาดเจ็บให้อยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์

วัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล
1. เพื่อช่วยชีวิต
2. ลดความรุนแรง ภาวะไม่พึงประสงค์
3. เพื่อป้องกันความพิการ
4. บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน
5. ช่วยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
เริ่มต้นปฐมพยาบาล

หลักการทั่วไปสำหรับการช่วยเหลือปฐมพยาบาล คือจำเป็นจะต้องกระทำโดยเร็วที่สุด และมีสิ่งพึงระวังถึงบุคคล 2 กลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่มผู้ช่วยเหลือ
บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์อุบัติเหตุขณะนั้นส่วนมากแล้วจะเป็นผู้ช่วยเหลือ จึงควรมีหลักการช่วยเหลือ คือมองดู สำรวจระบบสำคัญของร่างกายอย่างรวดเร็ว และวางแผนช่วยเหลืออย่างมีสติ ไม่ตื่นเต้นตกใจ
ห้ามเคลื่อนย้าย
เมื่อ อวัยวะต่างๆ บาดเจ็บ ร่างกายได้รับความกระกระเทือน อาจมีการฉีกขาด หัก มีเลือดออกทั้งภายในและภายนอก ซึ่งผู้ช่วยเหลืออาจมองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ได้ การเคลื่อนย้ายทันทีอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บมากขึ้น โดยเฉพาะถ้ากระดูกสันหลังหัก กระดูกที่หักจะตัดไขสันหลัง จะทำให้ผู้บาดเจ็บพิการตลอดชีวิตได้
ดังนั้นไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจนกว่าจะแน่ใจว่า เคลื่อนย้ายได้
ข้อยกเว้น
กรณีที่การบาดเจ็บเกิดขึ้นในสถานที่ที่ไม่สะดวกต่อการปฐมพยาบาล หรืออาจเกิดอันตรายมากขึ้นทั้งผู้บาดเจ็บและผู้ช่วยเหลือ จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไปที่ปลอดภัยก่อน จึงทำการปฐมพยาบาลได้ เช่น อยู่ในห้องทึบ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก อยู่ในน้ำ หรืออยู่ในกองไฟ เป็นต้น แต่ต้องเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะบริเวณศีรษะ คอ และหลัง

ต้องระวัง
การให้ความช่วยเหลือด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวัง ควรให้ความช่วยเหลือตามลำดับความสำคัญของการมีชีวิต หรือตามความรุนแรงที่ผู้บาดเจ็บได้รับ

2. กลุ่มผู้บาดเจ็บ
ผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ต่างๆ อันตรายที่ร่างกายได้รับ เรียงตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
1.หยุดหายใจ
2.ทางเดินหายใจอุดตัน หัวใจหยุดเต้น
3.เสียโลหิตจำนวนมากอย่างรวดเร็ว
4.หมดสติ
5.เจ็บปวด
6.อัมพาต
7.กระดูกหัก

ข้อควรจำ
การปฐมพยาบาลที่ดี ผู้ช่วยเหลือควรให้การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว นุ่มนวล และต้องคำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้บาดเจ็บ ควรได้รับการปลอบประโลม และให้กำลังใจเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะได้รับการช่วยเหลืออย่างปลอดภัย
ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บ
เมื่ออุบัติเหตุจราจรเกิดขึ้น เหตุการณ์ดังกล่าวจะประกอบได้ด้วยสถานการณ์ที่อันตรายและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้ที่ให้การช่วยเหลือต้องตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์นั้น จะทำให้การช่วยเหลือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าหากผู้ช่วยเหลือไม่ตระหนักถึงอันตรายของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว อาจได้รับอันตรายทั้งผู้ช่วยเหลือและผู้บาดเจ็บ การไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินสภาพผู้บาดเจ็บก่อนให้การปฐมพยาบาล อาจก่อให้เกิดผลเสียและทำให้ผู้บาดเจ็บได้รับอันตรายมากยิ่งขึ้นได้
4.สำรวจผู้บาดเจ็บขั้นที่ 2
ถ้าพบว่าผู้บาดเจ็บมีอาการรุนแรงสาหัส ไม่ต้องสำรวจขั้นที่ 2 แล้ว ให้เรียกรถพยาบาลและทำการปฐมพยาบาลอาการที่รุนแรงทันที
สัมภาษณ์ผู้บาดเจ็บ
ถามคำถามง่ายๆ ใช้เวลาไม่นาน บางครั้งผู้บาดเจ็บไม่สามารถอธิบาย หรือแยกแยะข้อมูลได้ เช่น ผู้บาดเจ็บที่เป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่หมดสติชั่วขณะหนึ่ง ให้ใช้การพิจารณาตัดสินใจเอง และสังเกตการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
-ชื่อ นามสกุล
-เกิดอะไรขึ้น
-เจ็บปวดบริเวณใด
-ต้องการให้ช่วยอะไร


ตรวจการหายใจ
สังเกตว่ามีการหายใจที่ผิดปกติหรือไม่ เช่น หอบ หายใจมีเสียงผิดปกติ หายใจเร็วหรือช้ากว่าปกติ แล้วรู้สึกเจ็บ
-หอบหรือไม่
-หายใจเร็วหรือช้า
-หายใจเจ็บหรือไม่


ตรวจร่างกายตลอดศีรษะจรดเท้า

เพื่อให้ได้ข้อมูลบาดเจ็บครบถ้วน ควรตรวจร่างกายตั้งแต่ ศีรษะ ใบหน้า ลำคอ ไหล่ แขน 2 ข้าง ทรวงอก สะโพก ขาทั้ง 2 ข้าง และเท้าตามลำดับ
ถ้าผู้บาดเจ็บเคลื่อนไหวได้ ไม่มีอาการบาดเจ็บ และไม่มีลักษณะการบาดเจ็บให้เห็น ควรพักประมาณ 2 -3 นาที แล้วเริ่มนั่งตรวจสิ่งผิดปกติเป็นระยะ ซึ่งถ้าไม่มีอาการเลวลงผู้บาดเจ็บค่อยๆ ลุกขึ้นยืน
-บอกให้ผู้บาดเจ็บหายใจเข้า - ออก ลึกๆ ช้าๆ
-ถามถึงความรู้สึกเจ็บปวด บริเวณช่องอกและช่องท้อง
ขั้นตอนการช่วยเหลือ

1.สำรวจสถานการณ์
ต้องประเมินว่าสถานการณ์นั้นปลอดภัยพอที่จะเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บ ถ้าไม่ปลอดภัยควรขอความช่วยเหลือจากหน่วยกู้ภัยต่างๆ โดยเร็ว และไม่ควรเข้าไปใกล้สถานการณ์ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ช่วยเหลือได้

2.สำรวจผู้บาดเจ็บขั้นที่ 1
เมื่อแน่ใจว่าสถานการณ์ปลอดภัยแล้วรีบทำการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทันที ถ้ามีผู้บาดเจ็บหลายคนต้องทำการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่มีอาการสาหัสก่อน ได้แก่
หมดความรู้สึก
ถ้าไม่รู้สึกตัวหรือหมดสติต้องระวังทางเดินหายใจอุดตัน ล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออก เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
ระบบหายใจ
สังเกตดูการเคลื่อนไหวขึ้นลงของทรวงอกฟังเสียงลมหายใจ และให้แก้มสัมผัสลมหายใจที่เป่าออกมา ปกติผู้ใหญ่หายใจประมาณ 12 -20 ครั้งต่อนาที
การเต้นของหัวใจ
ใช้นิ้วมือแตะที่เส้นเลือดแดงบริเวณข้างลำคอ การเต้นของหัวใจของวัยผู้ใหญ่ประมาณ 60 - 90 ครั้งต่อนาที
เสียเลือด
ปริมาณเลือดที่ออกจากบาดแผลและจากอาการแสดงของผู้บาดเจ็บ

3.ขอความช่วยเหลือ

ผู้บาดเจ็บที่จำเป็นค่าสินไหมทดแทน ควรเรียกพยาบาลมาช่วยควรให้ข้อมูลที่จำเป็น เพื่อการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ
สถานที่เกิดเหตุ สถานที่ใก้ลเคียง หรือจุดสังเกตุเห็นได้ง่าย
สถานการณ์
จำนวนผู้บาดเจ็บ
อาการผู้บาดเจ็บที่ประเมินได้ 


ที่มา: http://www.nmt.ac.th/product/web/1/t3.html

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม

ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม

การใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายหลายประการ ดังนี้

๑. เด็กถูกทำร้าย  การทำร้ายเด็กแบ่งได้เป็น ๔ประการคือ
      ๑.๑ การทำร้ายร่างกาย มีทั้งบุคคลในครอบครัวและบุคคลภายนอก ที่ทำร้ายเด็ก
      ๑.๒   การทำร้ายจิตใจ อาจเกิดจากทั้งบุคคลในครอบครัว และ บุคคลภายนอก เช่นการใช้คำพูดดุด่า ดู  ถูกเหยียดหยาม   ขู่เข็ญ   กักขัง   ควบคุม          ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นสิ่ง   ที่ไม่เหมาะ
      ๑.๓ การล่วงเกินทางเพศ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กหญิง   มีทั้งบุคคลในครอบครัวและบุคคลภายนอก ที่ทำร้ายเด็ก
      ๑.๔   การ ทอดทิ้ง คือการขาดความรับผิดชอบที่จะดูแลเด็ก ผลักความรับผิดชอบให้เป็นหน้าที่ของผู้อื่น ส่วนใหญ่เกิดจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

๒.การทำร้ายภรรยาหรือสามี  เป็นการกระทำที่รุนแรงต่อคู่สมรสของตนเอง ส่วนใหญ่พบว่าสามีมักกระทำต่อภรรยาของตนเอง  อาจทำร้ายทางจิตใจด้วยการด่า บังคับ ขู่เข็ญ  ไม่เลี้ยงดูและการทำร้ายร่างกายด้วยการตบ ตี ชกต่อย เตะ หรือใช้สิ่งของซึ่งเป็นอาวุธทำร้ายจนเกิดการบาดเจ็บหรือจนถึงขั้นเสียชีวิต

๓. การหย่าร้าง  สามีภรรยาที่ใช้ความรุนแรงต่อกัน อาจเกิดการหย่าร้างกันได้

๔. การทำร้ายผู้สูงอายุ เป็นการทำร้ายโดยตรงทางร่างกายจิตใจ ตลอดจนการทอดทิ้งไม่สนใจเรื่องความเป็นอยู่หรือปล่อยให้อยู่เองตามยถากรรม ซึ่งมักพบในสังคมปัจจุบัน
๕. การทำร้ายกันระหว่างบุคคล เป็นความรุนแรงที่พบมากที่สุด เช่น การทะเลาะเบาะแว้งแล้วทำร้ายกัน ในบางกรณี
๖. เด็กเร่ร่อน เด็กบางคนถูกกระทำความรุ่นแรงจากครอบครัวอาจหนีออกจากบ้านกลายเป็นเด็กเร่ร่อน
๗. อาชญากรรม การกระทำความรุนแรงในสังคมหลายอย่างเป็นอาชญากรรม เช่น การปล้น จี้ ฆ่า ทำร้ายร่างกายกัน การฉุดคร่า ข่มขืน
๘. ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ  เมื่อเกิดการบาดเจ็บต้องรักษาพยาบาล  โดย มีค่าใช้จ่ายบางรายอาจทำงานไม่ได้ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง และ หากเสียชีวิตก็เป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคคลซึ่งถ้าอยู่ในวัยทำงานมีรายได้ก็ ทำหมดโอกาส

แนวทางป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม

 

๑ ปลูกฝังความรักและความเข้าใจกันในครอบครัว  พูดจากันด้วยเหตุผล  เห็นใจผู้อื่นอ่อนแอกว่า  ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน
๒ หลีกเลื่องปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความรุ่นแรง  เช่น  การดื่มสุรา  การคบชู้  เล่นการพนัน การทะเลาะเบาะแว้งมีเรื่องกันปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดความรุ่นแรงได้                                                            
                                          ความขัดแย้งแก้ไขได้ถ้าเข้าใจกัน. ความขัดแย้งเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้
๓  จัดการกับอารมณ์และความเครียด เพราะเมื่อเกิดอารมณ์ไม่ดีอาจก่อให้เกิดการใช้ความรุ่นแรง

๔  มีค่านิยมที่ถูกต้อง เช่น ผู้ชายไม่ถืออำนาจและทำรุ่นแรงกับผู้หญิง  ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร รู้จักใช้ถุงยางอนามัย และไม่ก่อคดีข่มขืน

 ๕  เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องให้ความร่วมมือ  โดยควบคุมและป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด

เมื่อเกิดความรุนแรงในครอบครัว และสังคม  ควรปฏิบัติดังนี้
                                             เข้าพูดคุยกันอย่างมีสติ
๑ พาผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาจากแพทย์
๒ พาผู้ป่วยไปพบจิตแพทย์ ถ้าเป็นความกระทบกระเทือนทางจิตใจ เช่น ถูกข่มขืน ถูกทำร่างกายจนเสียขวัญ ถูกขู่อาฆาต ถูกหน่วงเหนียวใจกักขังจนเป็นเหตุให้เสียสุขภาพจิตควรไปพบแพทย์
๓  พาผู้ที่ชอบใช้ความรุนแรงไปพบจิตแพทย์ เพื่อตรวยสอบความผิดปกติของเขาว่ามีความผิดปกติทางจิตหรือไม่
๔  ควร มีการไกล่เกลี่ยประนีประนอมกัน เช่น ให้ทั้งสองฝ่ายปรึกษากับคนที่ตนนับถือ หรือ พบเจ้าหน้าที่ตำรวจ แม้ว่าจะมีปัญหาความรุนแรงเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีก
๕  แจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับผู้ก่อความรุนแรง  เพื่อให้เข็ดหลาบ จะได้ไม่ก่อความรุนแรงซ้ำอีก


ความคิดเห็น

 

 



วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

การประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงตนเอง-ชุมชน

การประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงตนเอง

การประเมินความเสี่ยง (Risk appraisal)

          การประเมินความเสี่ยง หมายถึง การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อันตรายอุบัติเหตุ และปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ ของบุคคล และกลุ่มเสี่ยง ออกมาเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative approach) โดยใช้แบบประเมินที่วัดภาวะสุขภาพ ดังนี้ (สมจิต แดนสีแก้ว,2545)
          1. ปริมาณสารเคมีหรือสารอาหารในร่างกาย เช่น ปริมาณน้ำตาลในเลือดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย น้ำหนักตัว ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
          2. ความรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ เช่น ความรู้ของมารดาต่อการเลี้ยงดูบุตร ความรู้เกี่ยวกับการ ปฏิบัติตนของผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น                    ความเสี่ยงอาจมีผลมาจากภาพชุมชนที่ ไม่        ปลอดภาย
          3. ทัศนคติต่อภาวะสุขภาพนั้น ๆ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาไสยศาสตร์ หรือสมุนไพร หรือทัศนคติต่อผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น
          4. การปฏิบัติตนซึ่งมีผลต่อสุขภาพ เช่น (Health behaviors or practice related to health hazard or health problem) ความเคยชินที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหาร สุก ๆ ดิบ ๆ หรือ การขับรถโดยไม่ตรวจสอบสภาพรถ เป็นต้น
          5. ปัจจัยหรือองค์ประกอบด้านประชากร เช่น การย้ายถิ่น อายุ เพศ อื่น ๆ หรือ สิ่งแวดล้อมที่คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของโรคหรืออันตรายนั้น ๆ เช่น การย้ายถิ่น อายุ เพศ อื่น ๆ หรือ สิ่งแวดล้อมที่คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของโรคหรืออันตรายนั้น ประวัติการเจ็บป่วยส่วนบุคคลและครอบครัว คนที่มีสมาชิกครอบครัว เป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติ

การประเมินภาวะเสี่ยง

          วิธีการที่จะประเมินความเสี่ยง หรือ การวัดปริมาณการได้รับปัจจัยเสี่ยง ขึ้นอยู่กับองค์ความรู้เกี่ยวกับผลทางด้านชีววิทยาของการได้รับปัจจัยนั้น ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการเกิดโรค โดยปกติความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับการเกิดโรคใดๆ มักเป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน (Multiple causes and effects) (อัมพร เจริญชัย และเปรื่องจิตร ฆารรัศมี,2544; สมจิต แดนสีแก้ว,2545)
          แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินภาวะเสี่ยงแบบประเมินภาวะเสี่ยง (Health risk profile)ที่ใช้กันบ่อย มี 3 ประเภท ได้แก่ (Goeppinger, 1988)
                    1) Health-hazard appraisal เป็นวิธีการประเมินปัจจัยเสี่ยงของโรคหรือปัญหาสุขภาพ การตาย โดยนำความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติระยะใดของโรค เพื่อค้นหาความต้องการเฉพาะ (Specific need) ของผู้ป่วย
                    2) Lifetime-health-monitoring program (LHMP) เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของบุคคลที่ยังไม่เจ็บป่วย แต่สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง เช่นมีพฤติกรรมเสี่ยง คือ การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า
                    3) Wellness inventory เป็นเครื่องมือที่ประเมินความเสี่ยงของบุคคลทั่วไป โดยมุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างภาวะสุขภาพ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดโรค เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและจัดการกับความเครียด แบบประเมินชนิดนี้นิยมใช้กันอย่างหลากหลายมาก การประเมินเน้นการส่งเสริมสุขภาพ

 การวัดความเสี่ยง (Measurement of risk) 

 การแสดงค่าความเสี่ยงโดยการเปรียบเทียบอุบัติการณ์(Incidence) ของโรคระหว่างสองกลุ่มหรือมากกว่า ว่ามีความแตกต่างของการได้รับสิ่งที่สงสัยว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือไม่ โดยพิจารณาจาก
                    1) ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น (Attributable risk) โดยพิจารณาว่า ความเสี่ยงของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ด้วยการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับปัจจัยกับกลุ่มที่ไม่ได้รับปัจจัย การคิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น โดยการใช้ค่าอุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มที่ได้รับปัจจัย ลบด้วย ค่าอุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มที่ไม่ได้รับปัจจัย ซึ่งอุบัติการณ์ในกลุ่มผู้ที่ไม่มีปัจจัย ถือว่าเป็นผลจากปัจจัยอื่น
                    2) ความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative risk) เพื่อดูว่า ผู้ที่ได้รับปัจจัยเสี่ยงมีโอกาสเกิดโรคเป็นกี่เท่าของผู้ที่ไม่ได้รับ ปัจจัย โดยการคำนวณค่า relative risk หรือ risk ratio ค่านี้ใช้บอกระดับความสัมพันธ์ (Strength of association) ระหว่างการได้รับปัจจัยกับการเกิดโรค

การประเมินภาวะเสี่ยงของชุมชน 

 การประเมินภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของชุมชนทำได้หลายระดับ ตั้งแต่ระยะที่บุคคลหรือกลุ่มในชุมชนสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง ไปจนถึงเกิดโรคแล้วและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการหรือการเสียชีวิต ข้อมูลที่จำเป็นต่อการประเมินความเสี่ยงของชุมชนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้( สมจิต แดนสีแก้ว,2545)
                    1) การรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาทางวิทยาการระบาด ได้แก่ การสำรวจภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชนโดยใช้เครื่องมือประเมินภาวะ เสี่ยงในระดับบุคคล (Health - risk appraisal)
                    2) สถิติการเจ็บป่วยและการตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ (Morbidity and mortalityrates) ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งที่ผ่านการพิสูจน์จากการวิจัย
                    3) การศึกษาวิทยาการระบาดเชิงพรรณนา (Descriptive study) ที่แสดงแบบแผนการเกิดโรคตามลักษณะของบุคคล เวลาและสถานที่ ข้อมูลการเจ็บป่วยและการตายสามารถช่วยระบุปัญหา (Identify Problem) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Identify group) หลังจากนั้นให้ประเมินความเสี่ยงระดับบุคคลที่เป็นสมาชิกของกลุ่มจะเป็นภาพ ของความเสี่ยงของทั้งกลุ่ม ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มย่อย (Subpopulation) ของชุมชน

เรื่องน่าสนใจ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...